บทความกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา

อำนาจในการสั่งให้ตรวจปัสสาวะของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

อำนาจการตรวจปัสสาวะของตำรวจ

ตรวจปัสสาวะ

 

 

 

 

 

 

อำนาจในการสั่งให้ทำการตรวจปัสสาวะของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เนื่องจากผู้เขียนต้องเดินทางไกลไปว่าความที่ศาลต่างจังหวัดบ่อยๆ และมักเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ตั้งด่านตรวจฯ มักจะเรียกให้ผู้ขับขี่รถยนต์และบุคคลอื่นๆที่โดยสารมาในรถยนต์ทำการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดอยู่เสมอๆ จึงขอนำเอาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาลงเผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป

ตามธรรมดาแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจย่อมไม่มีอำนาจในการสั่งให้บุคคลใดทำการตรวจปัสสาวะโดยผู้นั้นไม่ให้ความยินยอม เนื่องการเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันรัฐธรรมนูญบัญญัติรองรับไว้ เว้นแต่เมื่อมีคดีอาญาเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจ(พนักงานสอบสวน) จะมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหา หรือผู้เสียหายในคดีอาญา ทำการตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีการต่างๆได้ ซึ่งรวมถึงการตรวจปัสสาวะด้วย และหากผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาไม่ทำการตรวจพิสูจน์ ก็ไม่มีความผิดแต่อย่างใด เพียงแต่กฎหมายจะกำหนดว่า ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ในทางที่เป็นผลร้ายกับผู้เสียหายหรือผู้ต้องหานั้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 131/1)

แต่เนื่องจากการขับขี่รถยนต์ในขณะมึนเมาสุราหรือสารเสพติดอื่นๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดอำนาจพิเศษให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถทำการบังคับตรวจปัสสาวะแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ได้ แม้ยังไม่มีคดีอาญาเกิดขึ้น กล่าวคือกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งให้ผู้ขับขี่รถยนต์ที่มีลักษณะอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น กล่าวคือ ขับขี่รถยนต์ในลักษณะที่หย่อนความสามารถในการขับ หรือขับขี่รถยนต์ในขณะที่มึนเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ทำการตรวจปัสสาวะได้ แม้ผู้นั้นไม่ยินยอมให้ตรวจ โดยหากผู้ขับขี่รถยนต์ไม่ยอมตรวจ กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานตำรวจมิอำนาจกักตัวได้ไว้ได้จนกว่าจะยอมทำการตรวจ (พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 อนุมาตรา 1,2 ประกอบมาตรา 142 )

ซึ่งจะเห็นได้ว่าอำนาจในการบังคับตรวจปัสสาวะดังกล่าว มีเฉพาะแต่กับตัวผู้ขับขี่รถยนต์เท่านั้น ซึ่งผู้ที่ขับขี่รถยนต์ที่จะถูกบังคับให้ตรวจตามกฎหมายมาตรานี้จะต้องปรากฏว่ามีลักษณะการขับขี่รถยนต์โดยมีเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ขับขี่รถยนต์โดยหย่อนความสามารถในการขับ หรือขับขี่ในขณะที่มึนเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น เช่น มีกลิ่นสุราจากลมหายใจหรือเสื้อผ้า ขับรถไม่ตรงทาง พูดจาอ้อแอ้ หรือฝ่าฝืนสัญญาจราจร ฯลฯ หากไม่มีอาการน่าสงสัยอันใด ผู้เขียนเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่มีอำนาจบังคับตรวจปัสสาวะได้ และอำนาจในการบังคับตรวจปัสสาวะนี้ไม่ครอบคลุมไปถึงผู้ที่นั่งโดยสารมาในรถยนต์ด้วย ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สามารถบังคับให้ผู้ที่นั่งโดยสารมาในรถยนต์ตรวจปัสสาวะโดยผู้นั้นมิให้ความยินยอม

Express your opinion about this article

comments

ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

About ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

ทนายความ/หัวหน้าสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร โทร 098-2477807 , 087-3357764 ไลน์ id - @srisunglaw (มี @ข้างหน้า)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น