บทความกฎหมายแพ่งและวิธีพิจารณาความแพ่ง

ตัวอย่างการฟ้องร้องคดีแพ่ง ครอบครัว-มรดก ตอน ” อ้างกรรมสิทธิ์ที่ดินแทน ” ศึกษาตัวอย่างการต่อสู้ทางกฎหมายและประเด็นทางกฎหมายจากประสบการณ์จริง

ตัวอย่างการต่อสู้คดีแพ่ง คดีนี้ เป็นคดีที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งในครอบครัว คือเป็นเรื่องที่พี่น้องฟ้องร้องแย่งที่ดินของครอบครัว 

โดยคดีนี้เรื่องมีอยู่ว่า โจทก์และจำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน โจทก์เป็นพี่สาว ส่วนจำเลยเป็นน้องชาย แต่เดิมที่พิพาทมีชื่อมารดาโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนบิดาของโจทก์และจำเลยถึงแก่ความตายไปก่อนหน้าคดีนี้แล้ว

ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มารดาโจทก์และจำเลยได้รับมรดกมาบิดามารดาของตนเองอีกทีหนึ่ง และต่อมามารดาของโจทก์และจำเลย ได้โอนที่ดินพิพาทให้กับจำเลยแต่เพียงผู้เดียว

สาเหตุที่มารดาโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้เดียวนั้น เพราะฝ่ายโจทก์ไม่เคยเลี้ยงดูมารดา และยังชอบดุด่าว่ากล่าวมารดาเป็นประจำ อีกทั้งมีพฤติกรรมล้างผลาญสมบัติของครอบครัว

ทั้งนี้เนื่องจากสามีโจทก์เป็นอดีตนายตำรวจ และมักจะมาขอเงินของครอบครัวไปวิ่งเต้นตำแหน่งให้กับสามี บางครั้งถึงกับนำที่ดินของครอบครัวไปจำนองเพื่อหาเงินไปวิ่งเต้นให้กับสามีตนเอง จนทรัพย์สินครอบครัวร่อยหรอ

ส่วนจำเลยนั้น ขยันทำมาหากิน เป็นที่พึ่งของครอบครัว และเลี้ยงดูมารดาแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นมารดาจึงตกลงยกที่ดินพิพาทแปลงดังกล่าวให้กับจำเลยแต่เพียงผู้เดียว

แต่มารดาก็บอกก่อนยกที่ดินให้กับจำเลยว่า จำเลยต้องให้โจทก์พักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท ตามที่เคยอยู่มาแต่เดิม ห้ามขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งจำเลยก็ปฏิบัติตามคำสั่งของมารดา และยืนยันว่าจะไม่ไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท

ต่อมาฝ่ายโจทก์อยากได้ที่ดินพิพาท จึงได้วางแผนฟ้องร้องดำเนินคดีกับจำเลย โดยสร้างเรื่องราวอันเป็นเท็จขึ้นมา

โดยฝ่ายโจทก์กล่าวอ้างว่ามารดาซึ่งแต่เดิมเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้น ได้ตั้งใจยกที่ดินพิพาทให้กับทั้งตัวโจทก์และจำเลย  แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สะดวกไปรับโอนที่ดิน จึงได้มอบหมายให้จำเลยลงชื่อถือที่ดินแทนโจทก์ไว้ก่อน ดังนั้นความจริงแล้วโจทก์จึงเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาท

โดยฝ่ายโจทก์และครอบครัวโจทกก์ จึงได้จัดฉากถ่ายคลิปวีดีโอ และหลอกให้มารดาซึ่งขณะนั้นมีอายุมากแล้ว พูดทำนองว่าที่ยกที่ดินให้กับจำเลยนั้น ตั้งใจว่าจะยกให้กับทั้งโจทก์และจำเลย และนำคลิปดังกล่าวมาเป็นพยานที่ศาล

นอกจากนั้นฝ่ายโจทก์ยังพยายามกล่าวในคำฟ้องและนำสืบอ้างทำนองว่า ที่ดินพิพาท ที่มารดาโจทก์ได้รับมรดกมานั้นเป็นสินสมรสเนื่องจาก “เป็นการรับมรดกแบบมีค่าตอบแทน”

ซึ่ง ” การรับมรดกแบบมีค่าตอบแทน ” ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้รองรับแต่อย่างใด ฝ่ายโจทก์บัญญัติกฎหมายขึ้นมาใช้เองแท้ๆ เนื่องจากการรับมรดกคือการรับทรัพย์สินจากผู้ตาย คนที่ตายไปแล้วคงรับค่าตอบแทนอะไรไม่ได้

สาเหตุที่ฝ่ายโจทก์พยายามบิดเบือนว่า ที่ดินพิพาทเป็นการรับมรดกโดยมีค่าตอบแทน และถือเป็นสินสมรส เนื่องจากต้องการอาศัยการสืบสิทธิรับมรดกจากบิดาถึงแก่ความตายไปแล้ว

ทั้งนี้เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471 อนุมาตรา 3 นั้น ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาจากการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ถือเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส

เมื่อที่ดินพิพาทไม่ใช่สินสมรส มารดาโจทก์จะยกให้ใครก็ย่อมได้ แต่โจทก์พยายามบิดเบือนให้เป็นสินสมรส เพราะหากเป็นสินสมรส ที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งย่อมตกเป็นทรัพย์มรดกของบิดาโจทก์และจำเลย และโจทก์ก็จะตกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกด้วย

ตัวอย่างการต่อสู้คดีแพ่ง

คำฟ้องของโจทก์ หน้าที่ 1

คดีมรดก สินสมรส จันทบุรี_page-0002

คำฟ้องของโจทก์ หน้าที่ 2

คดีมรดก สินสมรส จันทบุรี_page-0003

คำฟ้องของโจทก์ หน้าที่ 3

คดีมรดก สินสมรส จันทบุรี_page-0004

คำฟ้องของโจทก์หน้าที่ 4

 

หลังจากตรวจสอบคำฟ้องและสอบข้อเท็จจริงแล้ว ผมเห็นว่าคดีนี้สำหรับผมถือว่าง่ายมาก เนื่องจากเป็นการสู้คดีไปตามความจริงที่เกิดขึ้น และพยานที่สำคัญที่สุดในคดีนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ ก็คือตัวมารดาของโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นอดีตเจ้าของที่ดินพิพาทนั่นเอง

โดยตามรูปคดีนี้ ฝ่ายจำเลยสามารถฟ้องแย้งเข้าไปในคดีนี้ เพื่อขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทก็ได้ และผมก็แนะนำให้จำเลยยื่นฟ้องแย้งเข้าไปในคดีด้วย

แต่จำเลยก็ยังเห็นว่าโจทก์เป็นพี่น้อง และยังยึดถือคำสั่งของแม่ที่ไม่ให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่ได้ฟ้องแย้งขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทแต่อย่างใด

ผมจึงตั้งประเด็นข้อต่อสู้และยื่นคำให้การไปตามความจริง 

โดยในเรื่องข้อกฎหมายผมสู้ว่า “การรับมรดกแบบมีค่าตอบแทน” ที่ฝ่ายโจทก์พยายามกล่าวอ้างนั้นไม่มีอยู่ตามกฎหมาย เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์บัญญัติกฎหมายขึ้นมาใช้เองแท้ๆ

และยังต่อสู้ในเรื่องข้อเท็จจริงว่ามารดาโจทก์และจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้กับจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้มีข้อตกลงว่าจะแบ่งให้โจทก์ด้วย

นอกจากนี้นิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 ประกอบมาตรา 456 ที่การให้ที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่

ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิ์นำพยานบุคคลมาสืบว่า มารดาโอนที่ดินให้กับจำเลย โดยมีข้อตกลงเพิ่มเติมว่า ให้จำเลยไปแบ่งกับโจทก์ภายหลัง เนื่องจากต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

และในชั้นสืบพยาน ผมก็ได้ขออ้างมารดาโจทก์มาเป็นพยานในศาล ซึ่งศาลสั่งว่าให้อ้างเป็นพยานร่วมกันระหว่างโจทก์และจำเลย

ปรากฏว่ามารดาโจทก์ก็มาเบิกความตอบคำถามตามความจริงว่า ที่ดินพิพาทนั้นยกให้กับจำเลยแต่เพียงคนเดียวไม่ได้ประสงค์ที่ยกให้กับโจทก์ด้วย

คำให้การจำเลยที่ หน้าที่ 1

คำให้การจำเลยที่ หน้าที่ 1

คำให้การจำเลย หน้าที่ 2

คำให้การจำเลย หน้าที่ 2

คำให้การจำเลย หน้าที่ 3

คำให้การจำเลย หน้าที่ 3

คำให้การจำเลย หน้าที่ 4

คำให้การจำเลย หน้าที่ 4

คำให้การจำเลย หน้าที่ 5

คำให้การจำเลย หน้าที่ 5

คดีนี้ศาลจึงมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด โดยศาลให้เหตุผลว่า

1.การ “รับมรดกแบบมีค่าตอบแทน ” ที่ฝ่ายโจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง ไม่มีกฎหมายรองรับ

2.ถึงแม้ฝ่ายโจทก์จะมี คลิปวีดีโอที่มารดาโจทก์และจำเลยพูดทำนองว่ายกที่ดินพิพาทให้กับโจทก์และจำเลยทั้งสองคน

แต่เมื่อมารดาโจทก์มาเบิกความเองต่อหน้าศาลไม่ได้อยู่ในภาวะกดดันหรือถูกบังคับ ก็ยืนยันชัดเจนว่ายกที่ดินพิพาทให้กับจำเลยคนเดียว คลิปวีดีโอดังกล่าวจึงไม่สามารถหักล้างพยานบุคคลที่มาเบิกความที่ศาลได้

คำพิพากษา หน้าที่ 1

คำพิพากษา หน้าที่ 1

คำพิพากษา หน้าที่ 2

คำพิพากษา หน้าที่ 2

คำพิพากษา หน้าที่ 3

คำพิพากษา หน้าที่ 3

คำพิพากษา หน้าที่ 4

คำพิพากษา หน้าที่ 4

คำพิพากษา หน้าที่ 5

คำพิพากษา หน้าที่ 5

คำพิพากษา หน้าที่ 6

คำพิพากษา หน้าที่ 6

คำพิพากษา หน้าที่ 7

คำพิพากษา หน้าที่ 7

คำพิพากษา หน้าที่ 8

คำพิพากษา หน้าที่ 8

คำพิพากษา หน้าที่ 9

คำพิพากษา หน้าที่ 9

คำพิพากษา หน้าที่ 10

คำพิพากษา หน้าที่ 10

คำพิพากษา หน้าที่ 11

คำพิพากษา หน้าที่ 11

คดีนี้หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว  ฝ่ายโจทก์พยายามยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา และขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

เนื่องจากที่ดินพิพาทคดีนี้มีมูลค่าสูง เป็นเงินหลายล้านบาท ดังนั้นค่าธรรมเนียมศาลที่โจทก์จะต้องวางจึงค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณแสนกว่าบาท

ในศาลชั้นต้น ฝ่ายโจทก์พยายามลักไก่ฟ้องมาเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งผู้พิพากษาที่รับฟ้องในชั้นแรกอาจจะตรวจทานไม่ดี จึงได้รับฟ้องมาแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์

ซึ่งผมได้โต้แย้งคัดค้านไปในคำให้การว่า คดีนี้ฝ่ายโจทก์เรียกร้องเอาทรัพย์เป็นของตนเอง ซึ่งทรัพย์สินพิพาทปรากฏชื่อทางทะเบียนว่าไม่ใช่ของโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ดังนั้นคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

ทำให้ศาลชั้นต้นสั่งให้ฝ่ายโจทก์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในตอนเริ่มคดีประมาณแสนกว่าบาท

และหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วหากฝ่ายโจทก์จะยื่นอุทธรณ์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มเติมรวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความใช้แทนอีกด้วย

ฝ่ายโจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งฝ่ายผมก็ได้คัดค้านและได้ทำการไต่สวนคำร้อง และศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล และต่อมาโจทก์ไม่นำค่าธรรมเนียมศาลมาวางไว้ในเวลาที่กำหนด คดีนี้จึงสิ้นสุดลงที่ศาลชั้นต้น

(รายละเอียดเรื่องการต่อสู้คดี เรื่องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะนำลงมาเขียนเป็นอีกตอนครับ)

ผมจึงได้นำตัวอย่าง คำฟ้อง คำให้การ และคำพิพากษา ให้เพื่อนๆที่สนใจได้ศึกษาใช้เป็นตัวอย่างแนวทางในการดำเนินคดี หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ รบกวนกดไลค์ กดแชร์ และคอมเม้นท์ เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมนำตัวอย่างคดีที่น่าสนใจเช่นนี้มาเผยแพร่อีกครับ ขอบคุณมากครับ

สรุป ข้อคิดที่ได้จาก ตัวอย่างการต่อสู้คดีแพ่ง เรื่องนี้ 

ในกรณีที่ฝ่ายโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลย โดยอ้างว่า โจทก์ได้มอบให้จำเลยถือทรัพย์สินไว้แทนตนเองนั้น

ฝ่ายโจทก์จะต้องมีพยานหลักฐานมานำสืบให้ศาลเห็นอย่างชัดเจน และต้องนำสืบถึงที่มาประกอบเหตุที่ทำให้จำเลยต้องถือที่ดินแทนไว้

เช่น ตนเองจะถูกยึดทรัพย์ จึงไม่อาจถือที่ดินเองได้ หรือตนเองเป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถถือที่ดินเองได้

เพราะคดีปรเภทนี้ เป็นหน้าที่ของฝ่ายโจทก์ต้องนำสืบหักล้างของสันนิษฐานตามกฎหมาย

หากฝ่ายโจทก์ไม่สามารถนำสืบได้สมดังฟ้อง ศาลก็จะต้องยกฟ้องดังเช่นคดีนี้

 

Express your opinion about this article

comments

ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

About ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

ทนายความ/หัวหน้าสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร โทร 098-2477807 , 087-3357764 ไลน์ id - @srisunglaw (มี @ข้างหน้า)

Related Posts