ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพหรือเพื่อจำหน่าย ?
นับแต่ประมาณปี พ.ศ. 2560 ที่มีการแก้ไขกฎหมาย โดยเปิดโอกาสให้จำเลยมีสิทธินำสืบพิสูจน์ได้ว่า ตนเองมียาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ไม้ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย ก็ไม่ได้มีคำพิพากษาฎีกาปรากฏออกมาให้ศึกษาเพื่อประกอบการต่อสู้คดีมากนัก
ทั้งนี้เนื่องจากคดียาเสพติดนั้นเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดพ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๘ หากจะฎีกา ต้องขออนุญาตฎีกาต่อศาล ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดพ.ศ. ๒๕๕๐มาตรา ๑๙
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเคยได้รวบรวม ตัวอย่างคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจำนวนประมาณ 30 กว่าคดีที่สามารถใช้ศึกษาเพื่อเป็นแนวทางต่อสู้คดีได้ซึ่งผู้สนใจสามารถอ่านได้ในบทความเรื่อง 7แนวทางต่อสู้คดียาเสพติด ประเด็นครอบครองเพื่อเสพ พร้อมตัวอย่างคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องจำนวน 32 คดี
แต่ปัจจุบัน มีคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ล่าสุด จำนวน 2 ฎีกา ที่พึ่งตึพิมพ์เผยแพร่ ได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง ในประเด็น เรื่องเจตนาของจำเลยว่า ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพหรือเพื่อจำหน่าย โดยทั้งสองฎีกามีข้อเท็จจริงที่ใกล้เคียงกัน แต่ปรากฎว่าศาลฎีกาวินิจฉัยไปคนละแนว
คดีแรก คือ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๑/๒๕๖๓ ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ ส่วนคดีที่ 2 คือ คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๖๓ ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพเท่านั้น จึงรอการลงโทษจำคุกไว้และคุมประพฤติจำเลย
จากแนวคำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 ฎีกาดังกล่าว สามารถวิเคราะห์เป็นอุทาหรณ์ในการต่อสู้คดียาเสพติด ประเด็นเรื่อง ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพหรือเพื่อจำหน่าย ได้ดังนี้
1.ในการต่อสู้คดียาเสพติด ประเด็นเรื่องการมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพ การนำสืบถึงเรื่องรายได้ของจำเลยมีความสำคัญมาก ในคำพิพากษาฎีกาแรก จำเลยอ้างว่ามีรายได้จากการค้าขายไก่ทอดและรับจ้างขับรถ แต่รายได้ไม่แน่นอน อีกทั้งมีภาระต้องส่งเงินเลี้ยงภรรยา รายได้ของจำเลย จึงไม่สัมพันธ์กับราคายาเสพติด ไม่เชื่อว่าจำเลยมีรายได้จากอาชีพสุจริตเพียงพอที่จะซื้อยาเสพติดได้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย
2.การที่ตำรวจชุดจับกุมกล่าวอ้างลอยๆ ว่า มีการสืบทราบว่า จำเลยเคยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดมาก่อน หากเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ ไม่มีการนำพยานมาสืบ หรือขัดต่อเหตุผล ก็จะไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ ดังนั้นถ้าพยานโจทก์อ้างว่ามีการสืบทราบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดมาก่อน ก็เป็นหน้าที่ทนายความจำเลยที่จะต้องถามค้านให้ปรากฎความจริง
3.การนำสืบสาเหตุ หรือพฤติการณ์ประกอบการเสพของจำเลยก็มีความสำคัญ เช่น จำเลยทำงานใช้แรงงานต้องเสพยาเสพติด เพื่อให้มีกำลังในการทำงานใช้แรงงานเป็นเวลานานๆ ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในแต่รูปคดีตามข้อเท็จจริงได้
4.ลักษณะการเก็บยาเสพติด ก็เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ศาลจะนำมาวินิจฉัย ว่าลักษณะการเก็บยาเสพติดนั้น เป็นการเก็บในลักษณะแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่มีลักษณะเป็นการเก็บยาเสพติดไว้เพื่อพร้อมจำหน่าย ก็จะเป็นประโยชน์แก่รูปคคีฝั่งจำเลย
อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับย่อยาว ประเด็นเรื่อง ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพหรือเพื่อจำหน่าย ? ได้ด้านล่างนี้
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๑/๒๕๖๓
เมทแอมเฟตามีนของกลางคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ ๑.๕๔๐ กรัม ตามรายงานการตรวจพิสูจน์เอกสารหมาย จ.๑ จึงเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่า สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไปเข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นการมีไว้ในครอบครอง เพื่อจําหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม (๒) จําเลยมีหน้าที่นําสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว การที่ จําเลยนําสืบโดยอ้างตัวเองเป็นพยานเพียงปากเดียวยืนยันว่าเมทแอมเฟตามีน ของกลางจําเลยมีไว้เพื่อเสพ พิเคราะห์ประกอบทางนําสืบของจําเลยว่า มีอาชีพขายอาหารประเภทไก่บริเวณหน้าโรงเรียนรายได้วันละ ๓๐๐ บาท กับรายได้อื่นคือการขับรถรับจ้างซึ่งจะมีรายได้รอบละ ๕๐๐ บาท แต่ไม่ปรากฏว่า รายได้ส่วนนี้จําเลยจะได้รับเป็นประจําทุกวันหรือเฉพาะในวันที่มีผู้ว่าจ้าง พิจารณาเปรียบเทียบรายได้ของจําเลยกับราคาเมทแอมเฟตามีนของกลาง ที่ประเมินไว้เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท ตามบัญชีของกลางคดีอาญา เมทแอมเฟตามีนของกลางมีราคามากกว่ารายได้ของจําเลยในแต่ละวัน ยิ่งทําให้ไม่น่าเชื่อว่า จําเลยจะนําเงินรายได้ในแต่ละวันมาซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อเสพ อีกทั้งจําเลยเองก็มีภรรยาแล้ว รายได้ที่ได้รับย่อมต้องนํามาใช้จ่ายในครอบครัว การที่จําเลยรับว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ตลอดจนไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตํารวจจับจําเลยครั้งนี้เนื่องมาจากจําเลยมีพฤติการณ์จําหน่ายเมทแอมเฟตามีน ก็ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ยืนยันว่าจําเลยไม่ได้มี เมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย เชื่อว่าจําเลยให้การรับสารภาพว่า มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพ เพราะประสงค์จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องรับผิดในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อจําหน่าย อันเป็นความผิดที่มีโทษหนักกว่า พยานห ที่นําสืบไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ฟังได้ว่า จําเลยกระทําความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔, ๒, ๑๕, ๖๖, ๑๐๐/๑, ๑๐๒ ริบของกลาง
จําเลยให้การรับสารภาพข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบ โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ปฏิเสธว่ามิได้มีไว้เพื่อจําหน่าย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง, ๖๗ จําคุก ๓ ปี และปรับ๕๐,๐๐๐ บาท คําให้การและทางนําสืบของจําเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจําคุก ๑ ปี 5 เดือน และปรับ ๒๕,000 บาท โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ ๒ ปี ให้จําเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ๔ ครั้ง กับทํางานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจําเลยเห็นสมควรมีกําหนด ๑๒ ชั่วโมง และ ห้ามจําเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกประเภทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ หากจําเลยไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ ริบของกลาง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม พิพากษาจําคุก ๔ ปี และปรับ ๔๕๐,๐๐๐ บาท ลดโทษให้ตามประมวลกฎหมาย หนึ่งในสาม คงจําคุก ๓ ปี ๔ เดือน และปรับ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไม่รอการลงโทษและไม่คุมความประพฤติ หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้เกินกว่า ๑ ปี แต่ไม่เกิน ๒ ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
จําเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ รับฟังเป็นยุติได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง เจ้าพนักงานตํารวจ จับกุมจําเลยและยึดได้เมทแอมเฟตามีนชนิดเกล็ด ๑ ถุง น้ําหนัก ๐.๖๑๑ กรัม คํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ ๐.๕๔๐ กรัม ตามรายงานการตรวจพิสูจน์เอกสารหมาย จ.๑ เป็นของกลาง พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายตามบันทึกคําให้การของผู้ต้องหาเอกสารหมาย จ.๘ ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจําเลยมีว่า จําเลยกระทําความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า เมทแอมเฟตามีนของกลาง คํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ ๐.๕๔๐ กรัม ตามรายงานการตรวจพิสูจน์เอกสารหมาย จ.๑ จึงเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไปเข้าข้อสันนิษฐานว่า เป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม (๒) จําเลยมีหน้าที่นําสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว การที่จําเลยนําสืบโดยอ้างตัวเองเป็นพยานเพียงปากเดียวยืนยันว่าเมทแอมเฟตามีน ของกลางจําเลยมีไว้เพื่อเสพ พิเคราะห์ประกอบทางนําสืบของจําเลยว่ามีอาชีพ ขายอาหารประเภทไก่ย่ําบริเวณหน้าโรงเรียน รายได้วันละ ๓๐๐ บาท กับรายได้อื่น คือการขับรถรับจ้างซึ่งจะมีรายได้รอบละ ๕๐๐ บาท แต่ไม่ปรากฏว่ารายได้ส่วนนี้ จําเลยจะได้รับเป็นประจําทุกวันหรือเฉพาะในวันที่มีผู้ว่าจ้าง พิจารณาเปรียบเทียบรายได้ ของจําเลยกับราคาเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ประเมินไว้เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท ตามบัญชีของกลางคดีอาญาเอกสารหมาย จ.๔ เมทแอมเฟตามีนของกลาง มีราคามากกว่ารายได้ของจําเลยในแต่ละวัน ยิ่งทําให้ไม่น่าเชื่อว่าจําเลยจะนําเงินรายได้ ในแต่ละวันมาซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อเสพ อีกทั้งจําเลยเองก็มีภรรยาแล้ว รายได้ที่ได้รับย่อมต้องนํามาใช้จ่ายในครอบครัว การที่จําเลยรับว่ามีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ตลอดจนไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตํารวจจับจําเลยครั้งนี้ เนื่องมาจากจําเลยมีพฤติการณ์จําหน่ายเมทแอมเฟตามีน ก็ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ยืนยันว่า จําเลยไม่ได้มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย เชื่อว่าจําเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อเสพ เพราะประสงค์จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้องรับผิดในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อน อันเป็นความผิดที่มีโทษหนักกว่า พยานหลักฐานของจําเลยที่นําสืบไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ฟังได้ว่าจําเลยกระทําความผิดราย มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจําเลยฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน
(สรศักดิ์ วาจาสิทธิศิลป์ ชัยชนะ ตัญจพัฒน์กุล – พนมวรรณ ทองวิทูโกมาลย์)
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ ย่อ/ตรวจ
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๖๓
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตํารวจยึดได้จากจําเลย มีจํานวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานของมาตรา ๑๕ วรรคสาม (๒) แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ว่ามีไว้ในครอบครอง เพื่อจําหน่าย แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีน้ําหนักไม่มั่นคงพอลงโทษจําเลย ประกอบกับที่จําเลยนําสืบว่า จําเลยเก็บเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อเสพเท่านั้น ก็มีเหตุผลที่จะรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายได้ จึงรับฟังไม่ได้ว่า จําเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔, ๒, ๕, ๑๔, ๕๗, ๖๖, ๙๑, ๑๐๒ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒, ๕๑ ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง
จําเลยให้การรับสารภาพข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน และมีเมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ปฏิเสธว่ามิได้มีไว้ในครอบครอง เพื่อจําหน่าย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ 1.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง, ๕๗, ๖๗, ๘๑ การกระทําของจําเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 6 เดือน และปรับ ๕๐,๐๐๐ บาท ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จําคุก 5 เดือนและปรับ ๑๕,๐๐๐ บาท จําเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ให้กระทงละกึ่งหนึ่ง โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด ๒ ปี ให้คุมความประพฤติของจําเลย เป็นเวลา ๑ ปี โดยให้จําเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ๔ ครั้ง ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่พนักงานคุมประพฤติกําหนด ห้ามจําเลยเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดให้โทษทุกชนิด กับให้จําเลยกระทํากิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๒๐ ข้อหาอื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยมีความผิดฐาน มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคสาม (๒), ๖๖ วรรคหนึ่ง จําคุก ๔ ปี คําให้การ ในชั้นสอบสวนและทางนําสืบของจําเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุ บรรเทาโทษ ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ให้หนึ่งในสาม คงจําคุก ๒ ปี 4 เดือน โดยไม่ปรับและไม่รอการลงโทษ ฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ปรับ 90,000 บาท ลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ ให้กึ่งหนึ่ง คงปรับ ๕,๐๐๐ บาท สําหรับความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนให้บังคับคดีไปตามคําพิพากษา ศาลชั้นต้น โดยไม่คุมความประพฤติของจําเลย ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
จําเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในวันเวลาและสถานที่ เกิดเหตุตามฟ้อง เจ้าพนักงานตํารวจสถานีตํารวจภูธรเมืองพิษณุโลกร่วมกัน จับกุมจําเลยได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน ๒ เม็ด และไปตรวจค้นบ้านของจําเลยเมทแอมเฟตามีนอีก ๑๔ เม็ด จึงยึดไว้เป็นของกลาง เมทแอมเฟตามีน ลงกลางตรวจพิสูจน์แล้ว คํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ ๐.๓๔๔ กรัม ตามรายงาน การตรวจพิสูจน์เอกสารหมาย จ.๑ สําหรับความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน คู่ความมิได้ฎีกา จึงยุติไปตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัย ตามฎีกาของจําเลยว่า จําเลยกระทําความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ใน ครอบครองเพื่อจําหน่ายตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ประเด็นข้อนี้โจทก์ มีร้อยตํารวจเอกอัครพล ผู้จับกุมจําเลยเป็นพยานเบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุได้รับ ข้อมูลว่าจําเลยมีพฤติการณ์ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดโดยทําหน้าที่เป็นคนกลาง คอยรับส่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่ลูกค้า วันเกิดเหตุเวลาประมาณ ๑๒ นาฬิกา พยานออกตรวจท้องที่พบจําเลยยืนอยู่ริมถนนภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๒ ตําบลดอนทอง จําเลยมีท่าทางคล้ายจะหลบหนี พยานจึงแสดงตนเป็น เจ้าพนักงานตํารวจขอตรวจค้น จากการตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีน ๒ เม็ด บรรจุในถุงพลาสติกใสแบบรูดปิดเปิด อยู่ในกํามือข้างขวาของจําเลย จําเลยรับว่า เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นของตนเอง โดยรับมาจากนายบอลไม่ทราบชื่อสกุลจริง หลังจากนั้นพยานให้จําเลยโทรศัพท์ติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากนายบอล จนสามารถจับกุมนายบอล และพยานให้จําเลยพาไปตรวจค้นบ้านของจําเลย พบเมทแอมเฟตามีน ๑๔ เม็ด ซุกซ่อนอยู่ใต้ผ้าห่ม บริเวณเพิ่งข้างบ้าน จําเลย รับว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวเป็นของตนมีไว้เพื่อเสพ บางครั้งนําไปแบ่งขายให้เพื่อน พยานแจ้งข้อหาแก่จําเลยว่า มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย จําเลยให้การรับสารภาพ และมีดาบตํารวจนิวัฒน์ผู้ร่วมจับกุมจําเลยเป็นพยาน เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุมีข้อมูลว่าจําเลยมีพฤติการณ์ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยมีผู้ต้องหารายอื่นซัดทอดว่าไปรับเมทแอมเฟตามีนจากจําเลย พยานได้ร่วม ไปตรวจยึดเมทแอมเฟตามีน ๑๔ เม็ด ได้ที่บ้านของจําเลย จําเลยรับว่า ซื้อเมทแอมเฟตามีนมาเพื่อเสพ และแบ่งให้เพื่อนบางส่วน กับมีร้อยตํารวจเอกณัฐวัฒน์ พนักงานสอบสวนเบิกความว่า ในชั้นสอบสวนพยานแจ้งข้อหาแก่จําเลยว่า เอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย จําเลยให้การรับสารภาพ
เห็นว่า ร้อยตํารวจเอกอัครพลและดาบตํารวจนิวัฒน์พยานโจทก์กล่าวอ้างว่าก่อนเกิดเหตุได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพฤติการณ์การจําหน่ายยาเสพติดของจําเลยมาก่อน แต่ก็ไม่ได้ระบุแหล่งผู้ให้ข้อมูลและไม่มีรายละเอียดว่าจําเลยจําหน่ายยาเสพติดให้แก่ผู้ใด เมื่อใด ทั้งไม่มีการสืบสวนขยายผล เพื่อพิสูจน์การกระทําความผิดของจําเลย ว่าเป็นคนกลางคอยรับส่งเมทแอมเฟตามีนให้แก่ลูกค้าจริงหรือไม่ คําเบิกความของ พยานโจทก์จึงเลื่อนลอยขาดความน่าเชื่อถือ และที่ร้อยตํารวจเอกอัครพล เบิกความว่าขณะตรวจค้นตัวจําเลยพบเมทแอมเฟตามีน ๒ เม็ด อยู่ในกํามือข้างขวา ก็ได้ความจากร้อยตํารวจเอกอัครพลตอบคําถามค้านว่า การจับกุมจําเลย ไม่ได้มีการวางแผนมาก่อน ไม่ได้มีการโทรศัพท์ติดต่อล่อซื้อหรือนัดหมาย ให้จําเลยมาบริเวณที่เกิดเหตุ เป็นการพบจําเลยโดยบังเอิญ จึงเป็นเรื่องที่ผิดวิสัยอย่างยิ่งเพราะเมทแอมเฟตามีนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เหตุใดจําเลยจึงต้องนําออกมากําไว้ในมือในที่สาธารณะเช่นนี้ คําเบิกความของพยานโจทก์ส่วนนี้จึงขัดต่อเหตุผล ส่วนเมทแอมเฟตามีนที่ตรวจยึดได้ที่บ้านของจําเลย ๑๔ เม็ด เป็นจํานวนไม่มากนักและถูกซุกซ่อนไว้อยู่ใต้ผ้าห่ม โดยไม่ปรากฏว่ามีการแบ่งบรรจุในลักษณะเตรียมไว้เพื่อจําหน่าย กรณีอาจเป็นดังที่จําเลยฎีกาว่า จําเลยรับจ้าง ฉีดยาฆ่าแมลงและเป็นกรรมกร จึงเก็บเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อเสพ โดยเข้าใจว่า จะทําให้มีเรี่ยวแรงเพื่อจะทํางานได้มากขึ้นก็เป็นได้ แม้โจทก์จะมีคํารับสารภาพ ของจําเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนมายืนยัน แต่ก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า มีน้ําหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่มีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหาก จากคํารับดังกล่าวมาฟังประกอบ พยานหลักฐานโจทก์ตามที่นําสืบมาจึงมีน้ําหนัก น้อย ดังนี้ ถึงแม้เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตํารวจยึดได้จากจําเลย มีจํานวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป อันต้องด้วยข้อสันนิษฐานของมาตรา ๑๔ วรรคสาม (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ว่ามีไว้ ในครอบครองเพื่อจําหน่าย แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ยังมีน้ําหนักไม่มั่นคงพอลงโทษจําเลย ประกอบกับ ที่จําเลยนําสืบว่า จําเลยเก็บเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อเสพเท่านั้น ก็มีเหตุผลที่จะรับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายได้ ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่าย มานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจําเลยฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง, ๖๗ จําคุก ๒ ปี ๖ เดือน และปรับ ๕๐,000 บาท จําเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจําคุก ๑ ปี ๓ เดือน และปรับ ๒๕,๐๐๐ บาท เมื่อรวมกับโทษในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนแล้ว เป็นจําคุก ๑ ปี ๕ เดือน และปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ ๒ ปี และให้คุมความประพฤติจําเลย ๑ ปี นับแต่วันอ่านคําพิพากษาศาลฎีกา โดยให้จําเลยกระทํากิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเวลา ๓๐ ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ หากไม่ชําระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ นอกจากที่แก้ให้เป็นไป ตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์
(สันติ วงศ์รัตนานนท์ – นิรัตน์ จันทพัฒน์ – สมเกียรติ ตั้งสกุล)
ประเสริฐ เสียงสุทธิวงศ์ – ย่อ/ตรวจ
ที่มาจากหนังคำพิพากษาศาลฎีกา พ.ศ.2563 เล่มที่ 2
อ่านเพิ่มเติม เรื่อง ตัวอย่างการต่อสู้คดียาเสพติดจากประสบการณ์จริง ประเด็นเรื่องมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่าย
- คดีแรก ถือยาเข้าไปเสพในผับ แล้วโดนตรวจค้น ศาลพิพากษายกฟ้องข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย
- คดีที่สอง เสพยาในงานคอนเสิร์ตแล้วถูก ตรวจค้นจับกุม ศาลพิพากษายกฟ้องข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย
- คดีที่สาม เสพยาเสพติด เพื่อใช้ขับรถเวลากลางคืนนานๆ ศาลพิพากษายกฟ้องข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย