บทความกฎหมายแพ่งและวิธีพิจารณาความแพ่ง

ข้อควรรู้ก่อนฟ้องคดีอำนาจปกครองบุตร เรื่องหลักเกณฑ์ที่ศาลใช้พิจารณาว่าบุตรควรอยู่กับใคร

การฟ้องเรื่องอำนาจปกครองบุตร

หลักเกณฑ์ในการกำหนดว่าบุตรควรจะอยู่กับใคร

ข้อควรรู้ก่อนฟ้องคดีอำนาจปกครองบุตร เรื่องหลักเกณฑ์ที่ศาลใช้พิจารณาว่าบุตรควรอยู่กับใคร

ตามธรรมดาแล้วกฎหมายย่อมต้องการให้บุตรอยู่กับทั้งบิดาและมารดา เพราะธรรมดาแล้วบุตรผู้เยาว์ย่อมต้องการทั้งบิดาหรือมารดา แต่หากมีเหตุจำเป็นในชีวิตครอบครัวทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่อาจอยู่กินร่วมกันได้ ก็มีความจำเป็นที่ทั้งสองฝ่ายต้องแบ่งบุตรกันเลี้ยงดู ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแบ่งกันเลี้ยงดูได้ ก็ต้องให้ศาลตัดสินว่าใครจะเป็นผู้เลี้ยงดู

ส่วนหลักการที่ศาลจะใช้พิจารณาว่าจะให้บุตรอยู่กับฝ่ายใดนั้น ศาลจะกำหนดโดยคำนึงถึงสวัสดิภาพ อนาคต และประโยชน์สูงสุดของบุตรผู้เยาว์เป็นสำคัญ ซึ่งศาลข้อพิจารณาในการให้อำนาจปกครองบุตรแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยสังเขป ดังนี้

1.โดยมากศาลมักจะให้บุตรที่อ่อนวัยอยู่กับมารดา ซึ่งศาลมักถือว่าเพศหญิงมักจะมีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่า เช่น ฎ.303/2488 ฎ.4125/2528 ฎ.392/2523 แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่บทบังคับตายตัว หากปรากฏข้อเท็จจริงว่ามารดามีพฤติกรรมที่ไม่สมควร หรือปรากฏข้อเท็จจริงว่าบิดา อยู่ในสถานะที่อาจเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่า ศาลอาจให้บุตรอยู่กับบิดาก็ได้

2.หากบุตรอยู่ในความดูแลของบิดามารดาฝ่ายใดแล้วควรให้ฝ่ายนั้นดูแลต่อไปตามเดิม โดยศาลมักจะไม่โยกย้ายบุตรไปจากถิ่นที่อยู่ที่บุตรอาศัยอยู่เดิม ยกเว้นว่าจะมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เพราะอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของบุตรผู้เยาว์ เช่น ฎ.3035/2533, 8087/2543 6948/2550

3.หากบิดารมารดาฝ่ายใดมีความประพฤติที่ดี เรียบร้อย เป็นตัวอย่างที่ดีของบุตร ก็ควรจะให้บุตรอยู่กับฝ่ายนั้น ตรงกันข้ามหากบิดามารดาฝ่ายใดมีพฤติการณ์ที่เสื่อมเสีย เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่บุตร ก็ไม่สมควรที่จะให้บุตรอยู่กันฝ่ายนั้น1637/2520 ฎ.5484/2537

4.หากมีบุตรหลายคน ควรจะให้พี่น้องได้อยู่ร่วมกัน ตามธรรมดาศาลจะไม่แยกพี่น้องออกจากกัน เว้นแต่จะมีเหตุพิเศษ (ฎ.9130/2539)

5.ความประสงค์และความรู้สึกของบุตรว่าต้องการจะอยู่กับบิดารหรือมารดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรที่โตพอที่จะมีความรับผิดชอบได้แล้วเช่น ฎ.1454/2545, 116/2547

6.ฐานะ และความสามารถ และสภาพแวดล้อม ในการให้การอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์เช่น, ฎ.1002/2537 ,392/2523 แต่ทั้งนี้ข้อนี้ก็เป็นแค่ส่วนในการพิจารณาประกอบเท่านั้น แม้จะปรากฏว่าบิดาหรือมารดามีฐานะที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้อย่างดี แต่มีพฤติกรรมที่ไม่สมควร ศาลก็อาจจะไม่ให้อำนาจปกครองบุตรแก่บิดามารดาของฝ่ายนั้นก็ได้ เพราะอย่างไรเสียบิดาหรือมารดานั้นก็มีหน้าที่จะต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหรือไม่

7.ความสามารถในการจัดหาที่พักอาศัย อาหารเครื่องนุ่มห่ม และการรักษาพยาบาลให้แก่บุตร เช่น ฎ.4125/2528, ฎ819/2546

8.การรักใคร่เอ็นดูและความรู้สึกผูกพันทางจิตใจระหว่างกัน เช่น ฎ.5890/2537

ทั้งนี้เนื้อหาดังกล่าว อ้างอิงจากคำอธิบายกฎหมายครอบครัว ของ ศ.ดร.ประสพสุข บุญเดช , ชาติชาย อัครวิบูลย์ , ศ.ไพโรจน์ กัมพูศิริ

อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยได้ทำคดีความเรื่องอำนาจปกครองมาเป็นจำนวนมากพอสมควร ในทางปฏิบัติ คดีประเภทนี้นั้นเมื่อขึ่นสู่ศาลแล้ว พบว่าเกินกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ คู่ความมักจะตกลงยินยอมกันและทำสัญญาประนีประนอมเรื่องการแบ่งอำนาจปกครองบุตร โดยผลัดกันเลี้ยงดู ตามที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกและยินยอม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เยาว์และบิดามารดามากกว่า ที่จะให้ศาลตัดสินลงไปว่าจะให้บุตรผู้เยาว์อยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว

อ่านบทความอื่นๆของสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ

Express your opinion about this article

comments

ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

About ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

ทนายความ/หัวหน้าสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร โทร 098-2477807 , 087-3357764 ไลน์ id - @srisunglaw (มี @ข้างหน้า)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น