บทความกฎหมายแพ่งและวิธีพิจารณาความแพ่ง

4 หน้าที่สำคัญของผู้จัดการมรดก ! เมื่อศาลตั้งแล้วต้องทำอะไรบ้าง ? | srisunglaw

เมื่อศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้วเนี่ย ผู้จัดการมรดกจะต้องทำอะไรบ้าง อำนาจผู้จัดการมรดกมีแค่ไหน แล้วหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดว่าจะต้องทำมีอะไรบ้าง วันนี้เดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆเลยครับ

เราเคยพูดถึงการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกไปแล้วนะครับหลายครั้ง ตั้งแต่การตั้งผู้จัดการมรดกกรณีทายาท กรณีสู้กัน กรณีตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน

ที่นี้ภายหลังจากที่เราได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกเมื่อศาลตั้งแล้วต้องทำอะไรบ้าง

วันนี้ผมก็เลยจะมาเล่าให้ฟังเพื่อที่ว่าเราจะได้ปฏิบัติตามหน้าที่ของเราได้อย่างถูกต้อง แล้วก็เป็นประโยชน์กับทายาททุกคนนะครับ

 หน้าที่ของผู้จัดการมรดกเริ่มต้นเมื่อไหร่

หน้าที่ของผู้จัดการมรดกเริ่มเมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าคดีดังกล่าวจะถึงที่สุดหรือไม่มีการยื่นอุทธรณ์ฎีกาหรือเปล่าก็ถือว่าอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการนั้นมีแล้ว ดังนั้นระหว่างนี้สามารถดำเนินการต่างๆตามอำนาจของตัวเองได้

และหากไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เนี่ยก็อาจจะมีเหตุทำให้ศาลถอนออกจากกันและผู้จัดการมรดกได้ ทั้งนีต้ามป.พ.พ. 1716 ฎ.5516/2536 ฎ.193/2541

ดังนั้นแล้วหน้าที่ต่างๆที่ระบุไว้ในที่จะกล่าวต่อไปนี้ผู้จัดการมรดกต้องเริ่มทำเมื่อศาลตั้งผู้จัดการมรดกเลยนะครับ ไม่ใช่ให้รอคดีถึงที่สุดก่อน
มาตรา 1716 หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
– หน้าที่ของผู้จัดการมรดกมีอะไรบ้าง
การตั้งผู้จัดการมรดก ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้กับทายาทหรือจัดการทรัพย์สินให้เป็นไปตามพินัยกรรม ดังนั้นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นวางหลักไว้อย่างกว้างๆ ตามมาตรา 1719
พูดง่ายๆว่าผู้จัดการมรดกเนี่ยมีอำนาจหน้าที่ค่อนข้างกว้างขวางมาก ถ้าอยู่ในกรอบว่าเพื่อดำเนินการจัดการหรือแบ่งปันทรัพย์มรดกเนี่ยก็ถือว่าทำได้เกือบหมดเลย

มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก
อำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่สำคัญ

1. การเกี่ยวกับการติดตามรวบรวมทรัพย์มรดก

 

 

 

 

 

 

 

 

– สืบเสาะ แสวงหาทรัพย์สินกองมรดกด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ที่ดินรถยนต์ หุ้น สิทธิเรียกร้อง
– ฟ้องร้องเรียกร้องเอาทรัพย์สินของผู้ตายเข้าสู่กองมรดก เช่นการฟ้องเรียกเอาโฉนดที่ดิน รถยนต์ หรือทรัพย์สินอื่นที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น หรือทายาทคนอื่น ฎ.1076/2487 ฎ.1364/2508 ฎ.345/2540 ฎ.4221/2542 ฎ.4811/2542
– ทวงหนี้ที่กองมรดกเป็นเจ้าหนี้ การฟ้องร้องเรียกร้องเอาหนี้สิน หรือสิทธิเรียกร้องต่างๆที่ บุคคลภายนอกเป็นหนี้อยู่กับกองมรดก
– ฟ้องร้องบังคับตามสัญญา ฟ้องขับไล่ ฟ้องแบ่งแยกที่ดิน ฎ.272/2501 ฎ.4140/2529
– แจ้งถึงหนี้สินส่วนได้เสียต่างๆที่ตนเองมีอยู่กับเจ้ามรดก
– ทำบัญชีทรัพย์มรดก ประกอบด้วยทรัพย์สินหนี้สิน และสิทธิเรียกร้องต่างๆ ป.พ.พ.1728-1729
– บัญชีทรัพย์มรดกภายหลังจากศาลมีคำสั่งแต่งตั้งแล้วนั้น เป็นคนละส่วนกับบัญชีทรัพย์มรดก ตอนยื่นจัดการมรดก ฎ.2442/2521
– ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน
ข้อกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1728 ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน
(1) นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้าในขณะนั้นผู้จัดการมรดกได้รู้ถึงการตั้งแต่งตามพินัยกรรมที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
(2) นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1726 ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก หรือ
(3) นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น
มาตรา 1729 ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๗๒๘ แต่กำหนดเวลานี้ เมื่อผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
บัญชีนั้นต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
บุคคลซึ่งจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ตามมาตรา 1670 จะเป็นพยานในการทำบัญชีใด ๆ ที่ต้องทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ไม่ได้

2. อำนาจเกี่ยวกับการดูแลบริหารจัดการทรัพย์มรดก

– การเก็บรักษาและดูแลทรัพย์มรดกไว้ ระหว่างการรอการแบ่ง ไม่ให้เสียหายบุบสลาย หรือเสื่อมค่าลง
– ชำระหนี้กองมรดก
– ต่อรองเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้กองมรดก
– ต่อสู้คดีที่เจ้ามรดกถูกฟ้อง หรือกองมรดกถูกฟ้อง รับมรดกความ
– ขายทรัพย์มรดก ทำสัญญาเช่า ขายฝาก จำนอง หรือนิติกรรมอื่นๆแล้วแต่กรณี ซึ่งศาลฎีกามีคำวินิจฉัยตลอดมาว่าผู้จัดการมรดกมีอำนาจจะทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน หากตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของกองมรดกและ จะทำไปโดยสุจริตเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ฎ.1701/2520 ฎ.1073/2533 ฎ.198/2552

แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความสุจริต และเพื่อประโยชน์ของกองมรดก ห้ามทำอะไรที่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว
ข้อกฎหมาย
มาตรา 1722 ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล
มาตรา 1725 ทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก
ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด ๆ หรือประโยชน์อย่างอื่นใด อันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าจะให้เป็นลาภส่วนตัว ทายาทหาต้องผูกพันไม่ เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วยที่ตนเองมีประโยชน์ส่วนได้เสีย

3. การติดตามหาทายาทและแจ้งความคืบหน้าให้แก่ทายาท

– ติดตามหาตัวทายาทให้มารับมรดก พร้อมทั้งแจ้งความคืบหน้าต่างๆ
– แจ้งถึงการรวบรวมทรัพย์มรดก
– การฟ้องร้องต่อสู้คดีความต่างๆ
– แจ้งถึงการชำระหนี้กองมรดก
– แจ้งถึงความคืบหน้าในการดำเนินการบริหารจัดการทรัพย์มรดก การขาย ปล่อยเช่า หรือนิติกรรมอย่างอื่น
– จะทำโดยการประชุมทายาท หรือทำโดยการบอกกล่าวด้วยวิธีอื่นๆก็ได้

ข้อกฎหมาย
มาตรา 1725 ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร

4. การแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาท

– เงินและทรัพย์สินทั้งหมดที่ได้มา หลังจากหักหนี้สิน หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการบริหารจัดการ จะต้องเอาเข้าสู่กองมรดกเพื่อแบ่งให้กับทายาท ส่วนตัวผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิ์เรียกค่าใช้จ่ายของตนเองเป็นการส่วนตัวได้ เว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทเสียงส่วนใหญ่จะอนุมัติให้ ปพพ ม.1721
– การแบ่งแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับสภาพทรัพย์สิน ถ้าเป็นเงิน เป็นหุ้น หรือทรัพย์สินที่สามารถตกลงแบ่งกันได้ง่ายๆก็สามารถแบ่งตามสัดส่วนได้
– ถ้าทรัพย์สินไหนไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้เช่นเป็นที่ดิน เป็นบ้าน เป็นรถยนต์ จะต้องขายเพื่อเอาเงินมาแบ่งกัน

– ดำเนินการตามมติเสียงส่วนใหญ่ของทายาท เช่น ตกลงกันว่าที่ดินแบ่งกันคนละแปลง ไม่ต้องขายหรือไม่ต้องรังวัดแบ่งแยกกัน แบ่งแยกทรัพย์สินกันคนละชิ้นหรือตามแต่ทุกฝ่ายตกลงกัน ฎ.6192/2533
– การจัดการแบ่งทรัพย์มรดกต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ปี เว้นแต่ทายาทเสียงส่วนข้างมากเว้นแต่ทายาทเสียงส่วนข้างมาก หรือศาลได้กำหนดเป็นอย่างอื่น แต่ทางปฏิบัติก็ไม่ค่อยได้เสร็จง่ายๆภายในกำหนด 1 ปีเพราะเหตุหลายอย่าง ป.พ.พ.1732
– ทำบัญชีแจ้งการจัดการและแบ่งปันทรัพย์มรดกทรัพย์มรดก ป.พ.พ.1732
ข้อกฎหมาย
มาตรา 1732 ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดยจำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น
ผู้จัดการมรดกปฏิบัติผิดหน้าที่จะเกิดอะไรขึ้น
– ถูกถอนออกจากงานเป็นผู้จัดการมรดก
– ถูกฟ้องให้รับผิดในส่วนแพ่ง ถ้าทำผิดหน้าที่และก่อให้เกิดความเสียหาย
– อาจถึงขั้นถูกดำเนินคดีอาญา

สรุป

เมื่อศาลแต่งตั้งใครมาเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว บุคคลนั้นเนี่ยถือว่าเป็นตัวแทนของทายาทและมีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินบริหารจัดการ มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ และดำเนินการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้กับทายาททุกคน หากไม่ปฏิบัติก็อาจจะมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาและอาจจะถูกทอนเอาใจหน้าที่ได้เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตัวเองให้อย่างถูกต้องในการที่ศาลจะตั้งให้พฤติกรรม

Express your opinion about this article

comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น