การยื่นอุทธรณ์ฎีกามันจะต้องทำยังไง อุทธรณ์ฎีกาในประเด็นไหนได้บ้าง แล้วมันจะมีโอกาสกลับมาชนะคดีไหม วันนี้เดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
หลายคนก็สงสัยนะครับว่าเวลาศาลชั้นต้นตัดสินให้เราแพ้คดีแล้ว หากเราจะยื่นอุทธรณ์หรือเราจะยื่นฎีกาต่อสู้คดีต่อเนี่ย มันจะมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่เราจะชนะคดี
แล้วเราจะยื่นอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลฎีกายังไงให้มีโอกาสกลับมาชนะคดี?
วันนี้ผมเลยจะมาเล่าให้ฟังถึง 7 ข้อ 7 ประเด็น ที่สามารถหยิบยกเอามาใช้ในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษา พร้อมกับเอาสถิติคดีทั่วประเทศมาให้ดูกันด้วยนะครับ.
1.คำพิพากษาของศาล ตัดสินขัดกับหลักกฎหมายไหม ?
– ตีความกฏหมายไม่ตรงกับเจตนารมณ์
– วินิจฉัยขัดกับแนวคำพิพากษาของศาลสูงที่ใช้เป็นบรรทัดฐานมานาน
– ปรับบทกฎหมายผิดกับข้อเท็จจริง นำข้อกฎหมายที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงมาใช้ในการพิจารณา
2. มีการรับฟังพยานหลักฐาน ที่เป็นพยานหลักฐานที่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังหรือเปล่า
เช่น
– พยานบอกเล่า
– พยานซัดทอด
– พยานที่ไม่มีโอกาสได้ถามค้าน
– พยานหลักฐานที่ได้มาโดยไม่ชอบ
3. มีการให้น้ำหนักกับพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ
– พยานเบิกความขัดแย้งกันในข้อสาระสำคัญ
– พยานเบิกความขัดแย้งกับพยานเอกสารพยานวัตถุ
– พยานเอกสารหรือพยานวัตถุที่มีข้อน่าสงสัย
4.มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ผิดพลาด
– สรุปเหตุผลจากพยานหลักฐานโดยไม่ตรงกับหลักตรรกะ
– เป็นการตีความพยานแวดล้อมผิดไปจากความน่าจะเป็น
– เข้าใจเหตุการณ์ผิดพลาด
– ตีความพยานเอกสาร – พยานวัตถุ ผิดไปจากตรรกะ
– หยิบยกเอาข้อเท็จจริงนอกสำนวน มาวินิจฉัยคดี
5.ไม่หยิบยกสิ่งที่เป็นประโยชน์กับฝ่ายเรามาวินิจฉัย
เช่น
พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ ข้อกฎหมาย
หรืออาจจะมีหลักฐานใหม่ที่อาจจะเป็นประโยชน์กับคดี แต่ยังไม่ได้หยิบยกขึ้นพิจารณาแล้วก็เป็นข้อยกเว้นที่สามารถอ้างส่งได้
6.ดุลพินิจที่ไม่สมควร
-กำหนดตัวเลขค่าเสียหายสูงหรือต่ำเกินไป
-ลงโทษหนักหรือเบาเกินไป
-กำหนดมาตรการในคดีแพ่งไม่เหมาะสมกับรูปคดี
7.กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
– ไม่ยอมให้ตรวจดีเอ็นเอ
– ไม่ยอมให้ตรวจลายมือชื่อ
– สั่งตัดพยานไม่ให้นำสืบ
– การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ทำให้เราแพ้คดี
สรุป
ประเด็นต่างๆทั้ง 7 ประเด็นเป็นแนวทางที่สามารถใช้อุทธรณ์-ฎีกา คัดค้านคำพิพากษาของศาลได้ในแทบทุกคดี
ซึ่งการที่จะบอกได้ว่าคดีนั้นจะสามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ไหมมีโอกาสชนะคดีมากน้อยแค่ไหนก็ต้องดูจากเนื้อหาในคำพิพากษาของศาลว่ามีความสมเหตุสมผลสอดคล้องกับกฎหมายแค่ไหน
และนอกจากนี้ก็จะต้องดูคำเบิกความพยานโจทก์และจำเลยที่อยู่ในสำนวน และเอกสารต่างๆที่อยู่ในสำนวนประกอบกันด้วย
หวังว่าแนวทางนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆและผู้สนใจทุกคนครับ