บทความกฎหมายอาญาและวิธีพิจารณาความอาญา

เปิดประเด็น หลัก“ผู้เสียหายโดยนิตินัย” ข้อกฎหมายสำคัญในการต่อสู้คดีอาญา

หลักผู้เสียหายโดยนิตินัยเนี่ยคืออะไร แล้วเราสามารถเอาหลักเนี่ยมาใช้ปรับในการต่อสู้หรือฟ้องคดีอาญาได้ยังไงบ้าง หลักผู้เสียหายโดยนิตินัย เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากทั้งในการฟ้องและการต่อสู้คดีอาญาวันนี้ผมจะอธิบายถึงหลักดังกล่าว รวมถึงแนวทางการปรับใช้ในการทำงานให้เพื่อนๆได้รับฟังนะครับ

ผู้เสียหายคืออะไร มีความสำคัญยังไง

ก็คือบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยนะครับ เช่นคนที่ถูกหลอกลวงเอาเงินไป ถูกทำร้าย ถูกด่าถูกหมิ่นประมาท ถูกยักยอกทรัพย์ เป็นต้นผู้เสียหายเนี่ยเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินคดีอาญาเลยนะครับ เพราะผู้เสียหายจะมีสิทธิ์ต่างๆในคดีอาญาเยอะมาก เช่น การแจ้งความร้องทุกข์ การฟ้องคดี การยื่นอุทธรณ์ฎีกา การยื่นคำร้องขอเรียกค่าเสียหายตามมาตรา 44/1 เป็นต้น

หลักผู้เสียหายโดยนิตินัย คืออะไร

หลักผู้เสียหายโดยวิธีนัยเนี่ยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 อนุมาตรา 4 ไม่ได้วางหลักไว้เลยนะครับว่าผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ว่าเป็นหลักที่ศาลฎีกาพัฒนาขึ้นมานานแล้วจากการตีความกฎหมายผ่านคำพิพากษาศาลฎีกานะครับว่า การที่ผู้เสียหายเนี่ย จะมีสิทธิ์อะไรต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดเนี่ยเขาจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่า “ผู้มาศาลจะต้องมาด้วยมือบริสุทธิ์ “ คำว่าผู้เสียหายโดยนิตินัยก็คือ ผู้เสียหายเนี่ยจะต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ไม่ได้เป็นคนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดนั้นเอง

ตัวอย่างที่ถือว่าไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

1.สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทต่อสู้กับบุคคลอื่น

ฎ.7003/2547

2.เป็นคนยุ หรือเป็นคนหาเรื่องฝ่ายตรงข้ามก่อน

3.ด่ากันในลักษณะต่างคนต่างด่ากัน

ฎ78-79/2502

4.คดีอุบัติเหตุที่มีลักษณะต่างคนต่างประมาท

 ฎ.1167-1168/2530

5.มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย

เช่น

  • ไปซื้อของผิดกฎหมาย หวยใต้ดิน
  • เอาไปปล่อยกู้เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  • ทำธุรกิจผิดกฎหมาย เล่นการพนัน หรือไปฉ้อโกงคนอื่น

ฎ.481/2524 ฎ.1343/2549 ฎ.1913/2546 ฎ.537/2523

6.ยอมให้คนอื่นกระทำความผิดต่อตน

เช่น

  • ยอมเสียดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ฎ.1222/2502
  • ยอมให้คนอื่นทำแท้งตนเอง ฎ.954/2502
  • ยอมให้คนอื่นเซ็นชื่อแทนตัวเองไป ไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานปลอมเอกสาร  ฎ.658/2513

ผลเมื่อไม่ได้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

1.ไม่มีสิทธิ์ร้องทุกข์

ในคดีความผิดยอมความได้ ผู้เสียหายเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินคดี เพราะถ้าหากไม่มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยผู้เสียหายแล้วพนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจสอบสวนพนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ตามป.วิอาญา มาตรา 120 ถึงมาตรา 121 ประกอบคำพิพากษาศาลฎีกา ฎ.243/2528

2.ไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม

ในคดีความผิดยอมความไม่ได้ เช่นคดีประมาทขับรถชนคนตาย คดีทำร้ายร่างกายได้รับอันตรายสาหัส คดีฆ่า

ถึงแม้ผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ แต่พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการมีอำนาจยื่นฟ้องศาลได้

แต่เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องแล้วผู้เสียหายที่ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยที่ใดก็ไม่มีอำนาจเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแล้วก็จะเสียสิทธิ์ต่างๆในการต่อสู้คดีหลายประการ

เช่นไม่มีสิทธิ์นำสืบพยานของตนเอง ไม่มีสิทธิ์ถามค้านพยานฝ่ายจำเลย ไม่มีสิทธิ์อ้างส่งเอกสารหลักฐาน รวมทั้งไม่มีสิทธิ์ในการยื่นอุทธรณ์ฎีกา

ฎ.1604-1605/2512

 

3.ไม่มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีด้วยตนเอง

เมื่อผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยแล้วผู้เสียหายจะไม่มีอำนาจฟ้องร้องดำเนินคดีในทุกข้อหา ไม่ว่าจะเป็นความผิดยอมความได้หรือยอมความไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามา 28(4)

ดังนั้นถ้าหากต่อสู้คดีและพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ถึงแม้ว่าจำเลยจะกระทำความผิดก็ตาม และไม่ว่าความผิดนั้นจะเป็นความผิดยอมความได้หรือยอมความไม่ได้

  1. คดีฉ้อโกง ยักยอก ลักทรัพย์
  2. คดีทำร้ายร่างกาย คดีฆ่าหรือพยายามฆ่า
  3. คดีประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายหรือถึงแก่ความตาย
  4. คดีหมิ่นประมาท

 

4.ยังมีสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย 44/1

ศาลฎีกาตีความว่า ถึงแม้จะไม่มีอำนาจขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม แต่ก็ยังมีอำนาจยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 คำพิพากษาฎีกาที่ 753/2561

 

สรุป

หลักผู้เสียหายโดยนิตินัยเป็นหลักที่สำคัญมากในการว่าความและดำเนินการต่อสู้คดีอาญาไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายผู้เสียหายหรือฝ่ายผู้ต้องหา

หากเราเป็นฝ่ายผู้เสียหายเนี่ยเราก็ต้องดูให้ดีว่าเราเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไหมหากไม่ใช่เราอาจจะต้องปรับจากการแจ้งความร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเองเป็นการกล่าวโทษ หรือจะต้องหาช่องทางปิดหรืออธิบายการเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยของเรา

แต่ถ้าหากเราเป็นฝ่ายจำเลยเนี่ยก็ต้องเป็นอีกหนึ่งในประเด็นที่เราจะต้องหยิบยกขึ้นมาต่อสู้ ถามค้าน เพื่อให้ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ซึ่งอาจจะทำให้เราชนะคดีนั้นโดยไม่ต้องดูเนื้อหาคดีเลยก็ได้

 

Express your opinion about this article

comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น