คู่มือปฏิบัติงานของทนายความ

การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล: ภาคปฏิบัติแบบเข้าใจง่าย

Table of contents in the article

เมื่อความยุติธรรมมีราคา…แต่เราไม่มีเงินจ่าย

ในชีวิตจริง หลายครั้งที่เราต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรม จนต้องหันหน้าพึ่งกระบวนการยุติธรรม แต่ปัญหาคือ ค่าธรรมเนียมศาลที่ต้องจ่าย อาจเป็นอุปสรรคสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ที่กำลังเดือดร้อน หากต้องการจะฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ไม่มีเงินจะเสียค่าธรรมเนียมศาลจะต้องทำอย่างไร และในกรณีหนึ่งหากฝ่ายตรงข้ามยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลมา โดยที่ดูแล้วเขาไม่ได้ยากจนจริงๆ หรือฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุผลเราจะต้องทำอย่างไร.

บทความนี้จะอธิบายขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลอย่างละเอียด

หลักทั่วไปเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่ง

ตามปกติแล้ว การฟ้องคดีแพ่ง โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่ฟ้อง (ยกเว้นคดีที่มีลักษณะพิเศษ เช่น คดีแรงงาน คดีผู้บริโภค คดีฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือ ค่าเลี้ยงชีพ ที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะว่าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล) วัตถุประสงค์ของกฎหมาย ไม่ได้มุ่งหวังที่จะเก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชน แต่เพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีโดยไม่มีมูลความจริง หรือเรียกค่าเสียหายเกินควร หากคดีจบลงด้วยการเจรจา ศาลจะคืนค่าธรรมเนียมให้ประมาณ 7 ใน 8 ส่วน.ดังนั้นเมื่อกฎหมายไม่ได้มุ่งหวังจะเก็บค่าธรรมเนียมศาลกับผู้มาใช้บริการตั้งแต่แรกอยู่แล้ว.หากปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีเป็นบุคคลยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ย่อมสามารถขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลได้

เมื่อไม่มีเงินจ่าย…เรามีสิทธิ์ขอยกเว้น

เนื่องจากศาลเป็นบริการสาธารณะที่ใช้ภาษีประชาชน ดังนั้น หากผู้ที่ต้องการใช้บริการศาลไม่มีเงินจ่ายค่าธรรมเนียม ก็สามารถยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 155 และ 157

ตัวบทกฎหมาย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๕

คู่ความซึ่งไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๖/๑

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๗

เมื่อศาลอนุญาตให้บุคคลใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลใด บุคคลนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น ค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ให้รวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตในระหว่างการพิจารณา การยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลนั้นให้ใช้บังคับแต่เฉพาะค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลที่จะต้องเสียหรือวางภายหลังคำสั่งอนุญาตเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินวางศาลที่เสียหรือวางไว้ก่อนคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอันไม่ต้องคืน

หลักเกณฑ์การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156/1 วรรคสอง กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ศาลจะอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ต่อเมื่อ

  1. ผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล

ซึ่งหมายความว่าผู้ร้องไม่มีเงินหรือไม่มีทรัพย์สินที่จะขายเอามาเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมศาลได้เลย เป็นบุคคลยากไร้โดยแท้จริง เช่นเป็นบุคคลที่ไม่มีอาชีพ ไม่มีรายได้ อายุมากแล้ว ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ไม่มีเงินในบัญชีเลย

2.หรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้ว จะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร

หมายความว่าผู้ร้องอาจจะพอมีเงินหรือมีทรัพย์สินที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลอยู่ได้บ้าง แต่ถ้าจะต้องเสีย ก็จะต้องเดือดร้อนเกินสมควร เช่นจะต้องขายรถ ขายที่ดิน ขายบ้าน ขายอุปกรณ์ประกอบวิชาชีพ เพื่อมาเสียค่าธรรมเนียมศาล

กรณีเช่นนี้ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย แต่หากจะต้องขายหรือจะต้องเสีย ค่าธรรมเนียมศาลก็จะเดือดร้อนเกินไป ศาลก็ยังสามารถให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้

3.ในกรณีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ การฟ้องร้องนั้นต้องมีเหตุผลอันสมควร

หมายความว่าการฟ้องร้องดำเนินคดีของฝ่ายโจทก์นั้นจะต้องไม่ใช่การกลั่นแกล้งฟ้องโดยไม่มีมูล ฟ้องคดีแบบไม่มีโอกาสชนะคดี เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร เช่นฟ้องมาเป็นสิบล้านร้อยล้านทั้งๆที่ตนเองมีสิทธิ์ได้เงินเพียงแค่หลักแสน

การที่ฝ่ายโจทก์จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลการฟ้องร้องดำเนินคดีจะต้องฟ้องร้องโดยรูปคดีมีเหตุผลอันสมควร มีมูลคดีอันหนักแน่น และเรียกร้องค่าเสียหายตามสมควร

ตัวบทกฎหมาย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสอง ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องเช่นว่านั้น เว้นแต่จะเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีผู้ร้องเป็นโจทก์หรือผู้อุทธรณ์หรือฎีกา การฟ้องร้องหรืออุทธรณ์หรือฎีกานั้นมีเหตุผลอันสมควรด้วย

การยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ผู้ประสงค์จะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น พร้อมกับ

  • คำฟ้อง
  • คำฟ้องอุทธรณ์
  • คำฟ้องฎีกา
  • คำร้องสอด
  • หรือคำให้การ

แล้วแต่กรณี โดยคำร้องต้องบรรยายถึง องค์ประกอบ 3 ข้อ

  1. เหตุผลและโอกาสในการชนะคดี
  2. ฐานะความยากจน หรือความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นหากต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
  3. หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับฐานะความยากจน เช่น หลักฐานรายได้ ทรัพย์สิน หนี้สิน

โดยมีรายละเอียดดังที่ได้บรรยายไปแล้ว โดยทางปฏิบัติแล้วหากมีเอกสารหลักฐานอะไรที่ชี้ให้เห็นว่าเราไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมศาลจริงๆก็ควรจะแนบไปด้วยเช่น

  1. บัตรประจำตัวคนพิการ
  2. บัตรประจำตัวผู้สูงอายุ
  3. หลักฐานเกี่ยวกับรายจ่ายต่างๆในแต่ละเดือน
  4. หลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าเราไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมศาลจริงๆหรือถ้าจะเสียค่าธรรมเนียมศาลเราจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร
  5. หลักฐานที่เกี่ยวกับ มูลคดีของเราว่าเป็นการฟ้องโดยมีเหตุผลและสมควร

ตัวอย่าง การทำความร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ข้อ 1.คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลในวันนี้ในข้อหาเรื่อง ถอนคืนการให้ รายละเอียดปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ในสำนวนของศาลแล้วนั้น

ข้อ 2.เนื่องจากโจทก์เป็นบุคคลยากจนไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมศาล ปัจจุบันโจทก์อายุ 80 ปีแล้วไม่ได้ประกอบอาชีพใดๆ พักอาศัยอยู่กับญาติ ไม่มีบ้านพักอาศัยส่วนตัว ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กับความเมตตาของเพื่อนบ้าน ที่แบ่งปันอาหารให้เป็นบางครั้ง กับการรับจ้างเล็กๆน้อยๆเท่านั้นรายละเอียดปรากฏตามรูปถ่ายบ้าน บัตรประจำตัวเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ที่แนบมาท้ายคำร้องฉบับนี้.

ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลยากจนไม่มีเงินจะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร.

ข้อ 3.ซึ่งโจทก์ขอประทานกราบเรียนต่อประทานกราบเรียน ต่อศาลที่เคารพต่อไปว่า การฟ้องร้องดำเนินคดีของโจทก์มีเหตุผลอันสมควร เนื่องจากโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ซึ่งมีฐานะเป็นบุตรของโจทก์เอง.เนื่องจากโจทก์เคยมอบเงินและทรัพย์สินให้กับจำเลยซึ่งเป็นบุตรไปทั้งหมดมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท แต่เมื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรได้เงินไปแล้วก็ไม่เคยให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ กลับกระทำการประพฤติเนรคุณหลายอย่าง โดยมีพยานหลักฐาตปรากฏชัดเจนปรากฏในคำฟ้องของโจทก์แล้วนั้น.

ข้อ 4.ด้วยเหตุดังโจทก์เรียนต่อศาลที่เคารพ จึงขอศาลที่เคารพโปรดไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้กับโจทก์ทั้งหมดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมของศาลที่เคารพโปรดอนุญาต

ตัวบทกฎหมาย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖

ผู้ใดมีความจำนงจะขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดี ให้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่จะฟ้องหรือได้ฟ้องคดีไว้นั้นพร้อมกับคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกาคำร้องสอด หรือคำให้การ แล้วแต่กรณี แต่ถ้าบุคคลนั้นตกเป็นผู้ไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในภายหลัง จะยื่นคำร้องในเวลาใด ๆ ก็ได้

การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้ร้องอาจเสนอพยานหลักฐานไปพร้อมคำร้องและหากศาลเห็นสมควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติมก็ให้ดำเนินการไต่สวนโดยเร็วเท่าที่จำเป็น ทั้งนี้ ศาลจะมีคำสั่งให้งดการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวจนกว่าการพิจารณาสั่งคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะถึงที่สุดก็ได้ตามที่ศาลเห็นสมควร

เมื่อฝ่ายตรงข้ามขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล…เราจะทำอย่างไร?

หากฝ่ายตรงข้ามยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เราสามารถตรวจสอบและคัดค้านได้ โดยพิจารณาว่า ฝ่ายตรงข้ามฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่ฝ่ายตรงข้ามยากจนจริงหรือไม่

โดยใช้หลักการเดียวกับที่ได้บรรยายไว้เลยว่า การฟ้องร้องดำเนินคดีของฝ่ายตรงข้ามเนี่ยฟ้องไปโดยสุจริตหรือเปล่า ฟ้องคดีโดยไม่มีมูลหรือไม่ เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควรหรือไม่

หรือฝ่ายตรงข้ามยังมีเงินหรือมีทรัพย์สินที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้แต่ไม่ยอมเสีย ใช้วิธีหลีกเลี่ยงการค่าเสียค่าธรรมเนียมศาลโดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ซึ่งธรรมดาแล้วในการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลฝ่ายตรงข้ามก็จะต้องคัดค้านเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว

ประเด็นในการคัดค้าน

  1. ฝ่ายตรงข้ามฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  2. ฝ่ายตรงข้ามมีความสามารถที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้โดยไม่เดือดร้อน

โดยต้องยื่นคำคัดค้านเป็นหนังสือต่อศาล พร้อมแนบหลักฐานต่างๆ การคัดค้านคำร้อง

ซึ่งถ้าหากเราคัดค้านจะทำให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องซึ่งเป็นโอกาสที่เราจะได้ถามค้านฝ่ายตรงข้าม และนำพยานหลักฐานของเรามาสืบ เพื่อให้ศาลเห็นถึงข้อเท็จจริง

ตัวอย่างคำคัดค้านคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

จำเลยขอคัดค้านคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลของโจทก์ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1.การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

คดีของโจทก์ไม่มีโอกาสชนะคดีได้โดยการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้นั้น แต่เดิมโจทย์ได้ถูกจำเลยที่ 3 และจำเลยที่..ฟ้องเป็นคดีขับไล่และจำเลยได้ยกประเด็นข้อต่อสู้เดียวกันกับคดีนี้ที่มาฟ้องในคดีนี้ขึ้นต่อสู้แล้วและศาลพิพากษาว่าข้อต่อสู้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้นแล้วปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโจทก์นำคดีนี้มายื่นฟ้องโดยไม่สุจริตโดยประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้เกิดคดีเดียวกันเป็นประเด็นเดียวกัน คดีของโจทก์จึงเป็นการฟ้องคดีโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่มีมูลเพียงพอที่ควรจะรับไว้พิจารณา รายละเอียดปรากฏตามคำพิพากษาและรายงานกระบวนพิจารณา

และการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ก็มีการฟ้องบุคคลอื่นอีกหลายคนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเข้ามาทำให้บุคคลอื่นได้รับความเดือดร้อน และยังมีการแยกฟ้องเป็นอีกหลายคดี พฤติการณ์เป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต ไม่สมควรจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เพราะเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156/1 วรรค 2

2.โจทก์ไม่ได้ยากจนจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมได้

ตัวโจทก์ยังมีเงินและมีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ แต่ตั้งใจหลบเลี่ยงไม่เสียค่าธรรมเนียมศาล ตั้งแต่การต่อสู้คดีในครั้งก่อนก็ใช้การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลมาเป็นเครื่องมือในการยื้อคดี ทั้งที่ตนเองยังมีที่ดินและมีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะมาเสียค่าธรรมเนียมศาลได้

ด้วยเหตุผลดังจำเลยประทานกราบเรียนต่อศาลที่เคารพจึงขอศาลที่เคารพโปรดพิพากษายกคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลของโจทก์เสียทั้งสิ้น

การไต่สวนคำร้อง

ธรรมดาแล้วเมื่อมีการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยศาลก็จะไต่สวนคำร้องก่อนเสมอเพื่อให้ทราบความจริงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

แต่ถ้าหากศาลตรวจคำร้องดูแล้วเห็นว่าคำร้องนั้นไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด คดีไม่มีมูลเพียงพอที่จะฟ้องร้องไม่มีเหตุผลการฟ้องร้องดำเนินคดีเพียงพอ ศาลก็ยกคำร้องได้เลยไม่ต้องไต่สวนคำร้องนะครับตามแนวคำพิพากษาดังต่อไปนี้  ฎ256/2507 ฎ.706/2522 ฎ.2203/2522

แต่ถ้าเกิดศาลอนุญาตเนี่ยส่วนใหญ่ศาลเขาจะต้องไต่สวนคำร้องให้ได้เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะอนุญาตเสมอ

ฝ่ายที่เป็นฝ่ายร้องขอค่าธรรมเนียมเนี่ยก็มีหน้าที่จะต้องเอาพยานหลักฐานเข้านำสืบและฝ่ายตรงข้ามก็มีสิทธิ์ถามค้านได้ด้วยแต่ก็จะถามค้านได้เฉพาะในประเด็น 2 ข้อเท่านั้น

แล้วฝ่ายตรงข้ามเองก็มีสิทธิ์นำพยานเข้ามาสืบได้ ในประเด็นตามข้อคัดค้านของตนเองเช่นเดียวกัน

คำสั่งของศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จแล้วให้ศาลมีคำสั่งโดยเร็ว โดยศาลจะมีคำสั่งอนุญาตทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วน หรือยกคำร้องนั้นเสียก็ได้

เมื่อศาลไต่สวนแล้วเนี่ยมีคำสั่งได้ 3 อย่าง ตาม ปวิพ ม. 156/1

  1. อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด

หมายความว่าศาลอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดเท่าที่จะต้องเสียเลยเราไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติมอะไรอีก

คำสั่งแบบนี้ถ้าฝ่ายจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น ที่อนุญาตให้โจทก์ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลก็จะต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ เพื่อใช้สิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาภายหลังเพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

  1. ยกคำร้อง

หมายความว่าศาลไม่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเลย เราจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเต็มจำนวน

  1. อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วน

หมายความว่า ศาลอาจจะให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนเช่นค่าธรรมเนียมศาลที่ต้องจ่าย 100,000 บาทศาลอาจจะบอกว่ายกเว้นให้ 50,000 บาท ส่วนอีก 50,000 บาทเราจะต้องจ่ายเอง เป็นต้น

ซึ่งอาจจะเกิดจากกรณีที่ศาลเห็นว่าเรายังพอมีกำลังที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมศาลเองได้บางส่วน

ถ้าศาลไม่อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะต้องทำอย่างไร ?

ในกรณีที่ศาลไม่ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้ก็ดี หรือยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แค่บางส่วนก็ดี

ฝ่ายโจทก์สามารถอุทธรณ์คัดค้านคำสั่ง ของศาลชั้นต้นได้ภายใน 7 วัน โดยขอให้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงคำสั่ง เห็นว่าได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด

แล้วเมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งอย่างไรแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด

มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

ตัวบทกฎหมาย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จแล้วให้ศาลมีคำสั่งโดยเร็ว โดยศาลจะมีคำสั่งอนุญาตทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วน หรือยกคำร้องนั้นเสียก็ได้

การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ – ฎีกา

การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยขอยกเว้นได้ทั้งในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

และในกรณีที่ในศาลชั้นต้นเนี่ย ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ฎีกาเนี่ยก็จะถือว่าเป็นบุคคลยากจนไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมเหมือนจะเป็นศาลชั้นต้นไม่ต้องพิจารณาในประเด็นนี้เพิ่มเติมอีกยกเว้นแต่จะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป

แต่ถ้าเกิดว่าในศาลชั้นต้นเนี่ยไม่ได้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลมาจะขอเพิ่มเติมเป็นชั้นอุทธรณ์ฎีกาเนี่ยก็อาจจะต้องมีการไต่สวนคำร้องพิจารณาในประเด็นนี้อีกทีหนึ่ง

ตัวบทกฎหมาย

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสาม

เมื่อคู่ความคนใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องเช่นว่านั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี อีก ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังคงไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้วจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่ เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น

สรุป

สรุปเกี่ยวกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยเนื่องจากธรรมดาแล้วไม่ได้ถือว่าศาลจะต้องมาเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ใช้บริการแต่การเก็บค่าธรรมเนียมเนี่ยก็เป็นไปเพื่อไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันโดยไม่สุจริตเอาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาฟ้อง

ดังนั้นแล้วเนี่ยหากเรามีความเดือดร้อนจำเป็นต้องฟ้องคดีแล้วเราไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมเนี่ยเราก็สามารถฟ้องและขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้แต่ก็ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนตามที่กฎหมายกำหนด

และหากฝ่ายตรงข้ามยื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตแล้วมาขอยกเว้นค่าธรรมเนียมเนี่ยก็เป็นหน้าที่เราจะต้องคัดค้านนะครับก็หวังจะเป็นประโยชน์แต่เพื่อนเพื่อนและผู้สนใจทุกคน

 

การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลภาคปฏิบัติแบบเข้าใจง่าย

เราไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่เราเองก็มีมีเงินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยเราจะต้องทำยังไง ถ้าฝ่ายตรงข้ามเนี่ยมาขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งๆที่ตนเองมีเงินเพียงพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเนี่ยเราจะคัดค้านได้ไหม

เดี๋ยวผมจะเล่าถึงข้อกฎหมายและทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้ฟังครับ

หลักทั่วไปเรื่องค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่ง

ธรรมดาแล้วเนี่ยในการฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งทั่วไป คนที่ยื่นฟ้องเนี่ยก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามที่กฎหมายกำหนดโดยทั่วไปแล้วก็อยู่ที่อัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินที่ยื่นฟ้อง

(ยกเว้นแต่คดีที่มีลักษณะเฉพาะเช่น คดีแรงงาน คดีผู้บริโภค คดีฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือค่าเลี้ยงชีพ ที่กฎหมายวางหลักไว้เป็นพิเศษว่าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล)

วัตถุประสงค์ของกฎหมายเนี่ยไม่ต้องการจะเก็บค่าธรรมเนียมจากคนที่ใช้บริการศาล แต่เพื่อป้องกันไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันโดยเรียกค่าเสียหายสูงเกินสมควร หรือโดยไม่มีมูลจะฟ้องร้องกัน

แล้วถ้าคดีจบลงด้วยการเจรจาศาลก็จะคืนให้ทั้งหมดตามที่ผมเคยได้ทำคลิปอธิบายไว้แล้ว

ดังนั้นแล้วเนี่ยเมื่อกฎหมายไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมศาลจากผู้มาใช้บริการศาลเพราะศาลนี้เขาใช้ภาษีของประชาชนในการให้บริการอยู่แล้ว

ดังนั้นถ้าหากผู้ที่ประสงค์จะใช้บริการศาลแล้วไม่มีเงินจะเสียค่าธรรมเนียมเนี่ย ศาลก็ยินดีให้บริการ กฎหมายก็วางหลักเกณฑ์ในการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลไว้ ตามป. วิแพ่งมาตรา 155 และ 157

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๕๕  คู่ความซึ่งไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลอาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๖ และมาตรา ๑๕๖/๑

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๗  เมื่อศาลอนุญาตให้บุคคลใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในศาลใด บุคคลนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น ค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ให้รวมถึงเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา ถ้าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตในระหว่างการพิจารณา การยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลนั้นให้ใช้บังคับแต่เฉพาะค่าธรรมเนียมศาลและเงินวางศาลที่จะต้องเสียหรือวางภายหลังคำสั่งอนุญาตเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมศาลหรือเงินวางศาลที่เสียหรือวางไว้ก่อนคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอันไม่ต้องคืน

หลักเกณฑ์ของการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสอง ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำร้องเช่นว่านั้น เว้นแต่จะเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ร้องไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากผู้ร้องไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรเมื่อพิจารณาถึงสถานะของผู้ร้อง และในกรณีผู้ร้องเป็นโจทก์หรือผู้อุทธรณ์หรือฎีกา การฟ้องร้องหรืออุทธรณ์หรือฎีกานั้นมีเหตุผลอันสมควรด้วย

การคัดค้านคำร้อง

ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายที่ถูกฝ่ายตรงข้ามยกเว้นค่าธรรมเนียมเนี่ย เราก็ลองตรวจสอบดูก่อนว่าโดยรูปคดีของฝ่ายตรงข้ามเป็นการฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่และฝ่ายตรงข้ามยากจนจริงหรือเปล่า ซึ่งธรรมดาแล้วเราจะคัดค้านได้ใน 2 ประเด็นก็คือ

1.ฟ้องคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

2.มีความสามารถที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้โดยไม่เดือดร้อน

ซึ่งทางปฏิบัติเนี่ยเราก็จะทำคำคัดค้านเป็นหนังสือเข้าไปพร้อมกับแนบเอกสารหลักฐานต่างๆไปเช่นเดียวกัน

ธรรมดาแล้วเนี่ยเป็นหน้าที่ของฝ่ายตรงข้ามที่จะต้องคัดค้านอยู่แล้วนะครับถ้าไม่คัดค้านก็ค่อนข้างจะแปลก ถ้าไม่คัดค้านศาลก็จะอนุญาตได้เลยแต่ถ้าเกิดคัดค้านเนี่ยมันก็ต้องมีการไต่สวนคำร้องก่อนซึ่งการที่เราได้ไต่สวนได้ถามค้านฝ่ายตรงข้ามก่อนเนี่ยมันก็เป็นประโยชน์ในรูปคดีโดยรวมอยู่แล้วไม่ว่าศาลจะอนุญาตหรือไม่

ตัวอย่างคำคัดค้าน

การไต่สวนคำร้อง

ธรรมดาแล้วเมื่อมีการยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยศาลก็จะไต่สวนคำร้องก่อนเสมอเพื่อให้ทราบความจริงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

แต่ถ้าหากศาลตรวจคำร้องดูแล้วเห็นว่าคำร้องนั้นไม่เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด คดีไม่มีมูลเพียงพอที่จะฟ้องร้องไม่มีเหตุผลการฟ้องร้องดำเนินคดีเพียงพอ ศาลก็ยกคำร้องได้เลยไม่ต้องไต่สวนคำร้องนะครับตามแนวคำพิพากษาดังต่อไปนี้  ฎ256/2507 ฎ.706/2522 ฎ.2203/2522

แต่ถ้าเกิดศาลอนุญาตเนี่ยส่วนใหญ่ศาลเขาจะต้องไต่สวนคำร้องให้ได้เข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดก่อนที่จะอนุญาตเสมอ

ฝ่ายที่เป็นฝ่ายร้องขอค่าธรรมเนียมเนี่ยก็มีหน้าที่จะต้องเอาพยานหลักฐานเข้านำสืบและฝ่ายตรงข้ามก็มีสิทธิ์ถามค้านได้ด้วยแต่ก็จะถามค้านได้เฉพาะในประเด็น 2 ข้อเท่านั้น

แล้วฝ่ายตรงข้ามเองก็มีสิทธิ์นำพยานเข้ามาสืบได้ ในประเด็นตามข้อคัดค้านของตนเองเช่นเดียวกัน

คำสั่งของศาลและการอุทธรณ์-ฎีกา

เมื่อศาลไต่สวนแล้วเนี่ยมีคำสั่งได้ 3 อย่าง ตาม ปวิพ ม. 156/1

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ เมื่อศาลพิจารณาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเสร็จแล้วให้ศาลมีคำสั่งโดยเร็ว โดยศาลจะมีคำสั่งอนุญาตทั้งหมดหรือแต่เฉพาะบางส่วน หรือยกคำร้องนั้นเสียก็ได้

1.อนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด

คำสั่งแบบนี้นะครับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนนะครับ ถ้าฝ่ายที่ไม่พอใจผลคำสั่งนี้ก็จะต้องโต้แย้งคัดค้านไว้อุทธรณ์ฎีกาภายหลัง

 

2.ยกคำร้อง

กรณีแบบนี้สามารถ.อุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 7 วันผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์ก็เป็นที่สุด ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา

มาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสี่

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นว่านี้ให้เป็นที่สุด

3.อนุญาตให้ยกเว้นบางส่วน

แบบนี้สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 7 วันผลออกคำสั่งศาลอุทธรณ์ก็เป็นที่สุดเหมือนกัน ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ตามมาตรา 156/1 วรรค 4 เช่นเดียวกัน

การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ฎีกา

การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยขอยกเว้นได้ทั้งในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

และในกรณีที่ในศาลชั้นต้นเนี่ย ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ฎีกาเนี่ยก็จะถือว่าเป็นบุคคลยากจนไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมเหมือนจะเป็นศาลชั้นต้นไม่ต้องพิจารณาในประเด็นนี้เพิ่มเติมอีกยกเว้นแต่จะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป

แต่ถ้าเกิดว่าในศาลชั้นต้นเนี่ยไม่ได้ขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลมาจะขอเพิ่มเติมเป็นชั้นอุทธรณ์ฎีกาเนี่ยก็อาจจะต้องมีการไต่สวนคำร้องพิจารณาในประเด็นนี้อีกทีหนึ่ง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๕๖/๑ วรรคสาม

เมื่อคู่ความคนใดได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในการฟ้องหรือต่อสู้คดีในศาลชั้นต้นแล้วยื่นคำร้องเช่นว่านั้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา แล้วแต่กรณี อีก ให้ถือว่าคู่ความนั้นยังคงไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลหรือหากไม่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแล้วจะได้รับความเดือดร้อนเกินสมควรอยู่ เว้นแต่จะปรากฏต่อศาลเป็นอย่างอื่น

 

สรุป

สรุปเกี่ยวกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเนี่ยเนื่องจากธรรมดาแล้วไม่ได้ถือว่าศาลจะต้องมาเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ใช้บริการแต่การเก็บค่าธรรมเนียมเนี่ยก็เป็นไปเพื่อไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันโดยไม่สุจริตเอาเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องมาฟ้อง ดังนั้นแล้วเนี่ยหากเรามีความเดือดร้อนจำเป็นต้องฟ้องคดีแล้วเราไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมเนี่ยเราก็สามารถฟ้องและขอยกเว้นค่าธรรมเนียมได้แต่ก็ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนตามที่กฎหมายกำหนดและหากฝ่ายตรงข้ามยื่นฟ้องคดีโดยไม่สุจริตแล้วมาขอยกเว้นค่าธรรมเนียมเนี่ยก็เป็นหน้าที่เราจะต้องคัดค้านนะครับก็หวังจะเป็นประโยชน์แต่เพื่อนเพื่อนและผู้สนใจทุกคน

Express your opinion about this article

comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น