บทความกฎหมายแพ่งและวิธีพิจารณาความแพ่ง, คู่มือปฏิบัติงานของทนายความ

ตัวอย่างการฟ้องคดีละเมิด เรียกค่าเสียหาย ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

ตัวอย่างการละเมิด  เรียกค่าเสียหาย ตามพ.ร.บ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 

คดีนี้ จำเลยเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีหน้าที่ทั่วไปโดยการจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ เช่นการบำรุงทางบกและทางน้ำและการรักษาความสะอาดภายในเขตปกครองของจำเลย ตามมาตรา 50 ประกอบมาตรา 54 ของ พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ.2496

จึงถือว่าจำเลยเป็น “หน่วยงานของรัฐ “ ตาม ตาม ม.4 ของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 

ผู้ก่อเหตุกระทำละเมิดในคดีนี้ เป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ขับรถบรรทุกขยะเพื่อเก็บขยะตามสถานที่ต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่เป็นปกติในการจ้างของจำเลย และขณะเกิดเหตุคดีนี้ผู้ก่อเหตุละเมิดในคดีนี้อยู่ระหว่างการปฏิบัติงานในหน้าที่ 

จึงถือว่าผู้ก่อเหตุการทำละเมิดคดีนี้เป็น “เจ้าหน้าที่” ตาม ม.4 ของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 

ซึ่ง ตามพ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  มาตรา 5 จำเลยที่เป็นหน่วยงานของรัฐ จะต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งการละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำการในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรณีเช่นนี้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวให้รับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ 

ทั้งนี้สาเหตุที่กฎหมายไม่ให้ผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตรงต่อเจ้าหน้าที่ เนื่องจากต้องการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่ให้ต้องห่วงพะวงกับการต้องถูกฟ้องร้องจากการปฏิบัติหน้าที่ 

โดยหากหน่วยงานของรัฐถูกศาลพิพากษาให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องถูกไล่เบี้ยให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีที่ตนเองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น 

กรณีที่เจ้าหน้าที่ เพียงแต่ปฏิบัติหน้าที่ไปตามคำสั่งหรือตามหน้าที่และเกิดข้อพิพาทหรือประมาทเลินเล่อในขั้นที่ไม่ร้ายแรง เจ้าหน้าที่ก็จะไม่ถูกไล่เบี้ยให้ชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด 

ดังนั้นจำไว้ว่า ในคดีลักษณะเช่นนี้ จะต้องตั้งเรื่องฟ้องเฉพาะหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดเท่านั้น หากตั้งเรื่องฟ้องเจ้าหน้าที่ไปอย่างเดียว ศาลก็จะต้องยกฟ้อง หรือหากตั้งเรื่องฟ้องหน่วยงานของรัฐไปพร้อมเจ้าหน้าที่ ศาลก็จะพิพากษาให้หน่วยงานของรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้รับผิด

พฤติการณ์แห่งคดี

คดีนี้เจ้าหน้าที่ของจำเลยซึ่งมีหน้าที่ขับรถบรรทุกขยะได้ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยได้รับอันตรายสาหัส และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ของจำเลยเป็นคดีอาญาแล้ว และเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ให้การรับสารภาพ ศาลพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกไว้

โดยในส่วนค่าเสียหายทางแพ่งนั้น คำนวณแล้ว คิดเป็นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์สมควรได้รับทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณ 965,470 บาท โดยแบ่งเป็น

1.ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลที่มีใบเสร็จตามจริง 225,470 บาท 

2.ค่ารักษาพยาบาลและค่าทำกายภาพบำบัดหลังจากจากออกจากโรงพยาบาลแล้วจำนวน 200,000 บาท

3.ค่าขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้ เนื่องจากภายหลังเกิดอุบัติเหตุแล้วโจทก์จะไม่สามารถทำงานหรือประกอบกิจการตามปกติได้เป็นเวลาประมาณ 2 ปีคิดเป็นเงินจำนวน 240,000 บาท

4.ค่าเสื่อมสุขภาพ โดยแพทย์ผู้ทำการรักษาแจ้งว่าโจทก์มีโอกาสสูงที่จะเป็นบุคคลทุพพลภาพหรือขาเป๋หรือถึงแม้จะไม่เป็นคนขาเป๋ก็จะไม่สามารถเดินหรือวิ่งเร็วๆอย่างคนปกติได้ เป็นจำนวน 200,000 บาท (ปพพ ม.444 )

5.ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างรักษาตัวและเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุจำนวน 100,000 บาท (ปพพ  ม.446)

โดยบริษัทประกันภัยของรถยนต์คันดังกล่าว ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับโจทก์แล้วเป็นเงินจำนวน  300,000 บาท ส่วนผู้ก่อเหตุชดใช้เงินมาเป็นจำนวน 10,000 บาท คงเหลือค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องการติดใจเรียกร้องจำนวน 655,470 บาท

ก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์พยายามติดต่อไปยังนายกเทศบาลดังกล่าว รวมทั้งเรียกร้องให้ชำระค่าสินไหมทดแทน แต่นายกเทศบาลดังกล่าวก็เพิกเฉยและไม่ยอมให้เข้าพบ 

ตอนนั้นทางสำนักงานผมเป็นสภาทนายความจังหวัดชลบุรี ประกอบกับทางโจทก์เป็นบุคคลยากจน ไม่มีเงินว่าจ้างทนายความ ทางสำนักงานจึงได้รับเข้าเป็นคดีช่วยเหลือของสภาทนายความ 

ทางสำนักงานจึงได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อเทศบาลดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 655,470 บาท

คำฟ้องหน้าที่ 1

คำฟ้องหน้าที่ 1

คำฟ้องหน้าที่ 2

คำฟ้องหน้าที่ 2

คำฟ้องหน้าที่ 2

คำฟ้องหน้าที่ 2

คำฟ้องหน้าที่ 3

คำฟ้องหน้าที่ 3

คำฟ้องหน้าที่ 4

คำฟ้องหน้าที่ 4

คำฟ้องหน้าที่ 5

คำฟ้องหน้าที่ 5

 

เมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ทางเทศบาลก็ได้ขอให้อัยการมาเป็นทนายความแก้ต่างให้กับทางเทศบาล

ฝ่ายจำเลยพยายามอ้างว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องนั้นสูงเกินส่วน เป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุจำเลยจึงไม่ต้องรับผิด 

ดังนั้น ในการพิจารณาคดีในชั้นศาลผมได้ออกหมายเรียก แพทย์ผู้ทำการรักษามาเบิกความถึงรายละเอียดอาการบาดเจ็บของโจทก์ประกอบกับภาพเอกซเรย์และหลักฐานทางการแพทย์ 

ซึ่งแพทย์ได้ยืนยันข้อเท็จจริงไปตามที่ปรากฏในคำฟ้องว่า โจทก์จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 4 เดือน โดยไม่สามารถลุกเดินได้ และเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้ว ก็จะต้องทำกายภาพบำบัดเป็นเวลานานประมาณปีถึง 2 ปีต้องเสียค่ารักษาพยาบาลและค่ากายภาพบำบัดไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดในอนาคตและรักษาพยาบาลอีกไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท 

ซึ่งในคดีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ารักษาพยาบาลในอนาคต หรือการรักษาพยาบาลต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ทนายความโจทก์จะต้องออกหมายเรียกแพทย์ผู้ทำการรักษามาเบิกความยืนยันต่อศาล เพราะการเรียกร้องค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์มีภาระการพิสูจน์ต่อศาล 

นอกจากนี้ผมยังได้นำสืบถึงเรื่องการทำงานของฝ่ายโจทก์ว่าก่อนเกิดเหตุคดีนี้ทำงานเป็นพนักงานบริษัทมีรายได้แน่นอน 

ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทน เต็มจำนวนตามคำฟ้อง 655,470 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 1

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 1

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 2

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 2

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 3

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 3

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 4

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 4

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 5

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 5

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 6

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 6

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 7

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 7

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 8

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 8

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 9

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 9

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 10

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 10

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 11

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 11

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 12

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 12

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 13

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 13

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 14

คำพิพากษาศาลชั้นต้น 14

หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

พนักงานอัยการผู้ว่าคดีนี้ เห็นว่าศาลชั้นต้นพิพากษาถูกต้องแล้วมีความเห็นไม่ควรอุทธรณ์ และได้เสนอความเห็นว่าไม่ควรอุทธรณ์คำพิพากษา แต่ทางเทศบาลโดยนายกเทศบาลคัดค้านขอให้อัยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา 

ซึ่งปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ ก็มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มตามฟ้องพร้อมดอกเบี้ย 

สุดท้ายแล้วคราวนี้ทั้งพนักงานอัยการและทางเทศบาลตกลงไม่ยื่นฎีกา และยินยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดให้กับโจทก์ คดีนี้จึงได้สิ้นสุดลงตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ 

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 1

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 1

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 2

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 2

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 3

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 3

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 4

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 4

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 5

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 5

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 6

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 6

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 7

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 7

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 8

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 8

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 9

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ 9

ผมจึงได้นำตัวอย่างคำฟ้อง และคำพิพากษาในดคีนี้ มาเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ใช้ศึกษาและเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ

Express your opinion about this article

comments

ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

About ทนายเอกสิทธิ์ ศรีสังข์

ทนายความ/หัวหน้าสำนักงาน พิศิษฐ์ ศรีสังข์ ทนายความ ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายและรับว่าความทั่วราชอาณาจักร โทร 098-2477807 , 087-3357764 ไลน์ id - @srisunglaw (มี @ข้างหน้า)

Related Posts